กสิกรไทยคาดส่งออกทั้งปีโต 7%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหนุนส่งออกไทยเดือนเม.ย.โตแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทั้งปี 2564 คาดส่งออกโต 7%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินตัวเลขการส่งออกในเดือนเม.ย.64 ขยายตัวแข็งแกร่งอยู่ที่ร้อยละ 13.09 YoY สูงสุดในรอบ 3 ปี และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ นอกจากนี้เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ ยุทธปัจจัย ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 25.70 YoY สอดคล้องกับการส่งออกของภูมิภาคเอเชียที่เติบโตแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลก การส่งออกของไทยใน 4 เดือนแรกของปี 2564 เติบโตที่ร้อยละ 4.78 YoY

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศโซนตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มดีขึ้นตามอัตราการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีกว่าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนตัวเลขการส่งออกไทย ในเดือนเม.ย. โดยการส่งออกไปสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามโดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.50 ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบเป็นต้น ขณะที่สหรัฐฯ ขยายตัวดีเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ด้านโซนเอเชียโดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ยังคงเผชิญปัญหาการกลับมาระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามสะท้อนจากตัวเลขการส่งออกไปตลาดอาเซียน (5) ที่ยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.40 YoY โดย 4 เดือนแรกของปีหดตัวถึงร้อยละ 8.70 YoY ซึ่งตลาดที่หดตัวหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ขณะที่การส่งออกไปยัง CLMV ยังขยายตัวได้ถึงร้อยละ 44.30 YoY จากร้อยละ 2.00 YoY ในเดือนมี.ค. 64 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายตลาดพบว่าในอินเดียเผชิญสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงขึ้นอย่างมาก ผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและอัตราการฉีดวัคซีนยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การส่งออกของไทยไปยังอินเดียกลับขยายตัวได้ถึงร้อยละ 193.0 YoY จากร้อยละ 28.3 YoY ในเดือนมี.ค.64 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศส่งผลให้ต้องมีพึ่งพาสินค้านำเข้าจำนวนมาก เช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ทองแดง และรถยนต์และส่วนประกอบ

ในระยะข้างหน้าตัวเลขส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับปัจจัยหนุนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ดีขึ้นหลังอัตราการฉีดวัคซีนในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ และยุโรปที่จัดเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยเป็นไปในทิศทางที่รวดเร็วกว่าคาดการณ์ ขณะที่นโยบายการเงินยังมีแนวโน้มผ่อนคลายรวมถึงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการชดเชยอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) ที่จะเข้ามาช่วยหนุนตัวเลขการส่งออกของไทย ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของการขาดแคลนตู้สินค้าทางกระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาและมีการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์มาได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงอีกหลายปัจจัย เช่น การระบาดของโควิด-19 ในบางประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศโดยเฉพาะแถบเอเชียที่เดิมควบคุมสถานการณ์ได้ดีแต่กลับมามีการระบาดหนักขึ้น เช่น ไต้หวันและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังต้องติดตามประสิทธิผลและความเชื่อมั่นของวัคซีน รวมถึงการกลายพันธุ์ของไวรัส ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยในระหว่างนี้ยังคงประมาณการการส่งออกไทยปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0

ตัวเลขการส่งออกในเดือนเม.ย.64 ขยายตัวแข็งแกร่งอยู่ที่ร้อยละ 13.09 YoY สูงสุดในรอบ 3 ปี และสูงกว่าตลาดคาดการณ์ นอกจากนี้เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ ยุทธปัจจัย ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 25.70 YoY สอดคล้องกับการส่งออกของภูมิภาคเอเชียที่เติบโตแข็งแกร่งตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลก การส่งออกของไทยใน 4 เดือนแรกของปี 2564 เติบโตที่ร้อยละ 4.78 YoY

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศโซนตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป มีแนวโน้มดีขึ้นตามอัตราการฉีดวัคซีนที่รวดเร็วหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีกว่าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนตัวเลขการส่งออกไทย ในเดือนเม.ย. โดยการส่งออกไปสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามโดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.50 ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบเป็นต้น ขณะที่สหรัฐฯ ขยายตัวดีเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ด้านโซนเอเชียโดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ยังคงเผชิญปัญหาการกลับมาระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามสะท้อนจากตัวเลขการส่งออกไปตลาดอาเซียน (5) ที่ยังคงหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.40 YoY โดย 4 เดือนแรกของปีหดตัวถึงร้อยละ 8.70 YoY ซึ่งตลาดที่หดตัวหลัก ได้แก่ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ขณะที่การส่งออกไปยัง CLMV ยังขยายตัวได้ถึงร้อยละ 44.30 YoY จากร้อยละ 2.00 YoY ในเดือนมี.ค. 64 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายตลาดพบว่าในอินเดียเผชิญสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงขึ้นอย่างมาก ผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและอัตราการฉีดวัคซีนยังอยู่ในระดับต่ำ แต่การส่งออกของไทยไปยังอินเดียกลับขยายตัวได้ถึงร้อยละ 193.0 YoY จากร้อยละ 28.3 YoY ในเดือนมี.ค.64 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ในประเทศส่งผลให้ต้องมีพึ่งพาสินค้านำเข้าจำนวนมาก เช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ทองแดง และรถยนต์และส่วนประกอบ

ในระยะข้างหน้าตัวเลขส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับปัจจัยหนุนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ดีขึ้นหลังอัตราการฉีดวัคซีนในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ และยุโรปที่จัดเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยเป็นไปในทิศทางที่รวดเร็วกว่าคาดการณ์ ขณะที่นโยบายการเงินยังมีแนวโน้มผ่อนคลายรวมถึงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการชดเชยอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) ที่จะเข้ามาช่วยหนุนตัวเลขการส่งออกของไทย ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของการขาดแคลนตู้สินค้าทางกระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาและมีการนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์มาได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงอีกหลายปัจจัย เช่น การระบาดของโควิด-19 ในบางประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศโดยเฉพาะแถบเอเชียที่เดิมควบคุมสถานการณ์ได้ดีแต่กลับมามีการระบาดหนักขึ้น เช่น ไต้หวันและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังต้องติดตามประสิทธิผลและความเชื่อมั่นของวัคซีน รวมถึงการกลายพันธุ์ของไวรัส ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จะยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยในระหว่างนี้ยังคงประมาณการการส่งออกไทยปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0

สถานการณ์สินค้าและตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย




COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment