{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ชนะการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน 2 โครงการในพื้นที่ อบต.เชียงหวาง จ.อุดรธานี และ อบต.โชคชัย จ.นครราชสีมา กำลังการผลิตแห่งละ 9.9 เมกะวัตต์ คาดทำเงินแห่งละ380 ล้านต่อปี
นายธนะชัย บัณฑิตวรภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานสะอาดของไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2564 องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง(อบต. เชียงหวาง) จ. อุดรธานี ได้ประกาศให้ บริษัท เนชั่นแนล คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (NCE) บริษัทย่อยโดยอ้อมที่บริษัทฯ ถือหุ้น 90% เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเป็นพลังงานไฟฟ้าระบบปิดของ อบต. เชียงหวาง ที่มีขนาดรองรับปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนไม่น้อยกว่า 400 ตันต่อวัน ภายใต้สัญญาโครงการแบบ Build-Own-Operate (BOO) มีอายุ 25 ปี โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ และกำลังผลิตเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) 8.0 เมกะวัตต์
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย จ. นครราชสีมา (อบต. โชคชัย) ได้ประกาศให้บริษัท แอ๊บโซลูท เพาเวอร์ แพลนท์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยโดยอ้อมที่บริษัทฯ ถือหุ้น 90% เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าระบบปิดแบบ Waste to Energy (WTE) ของ อบต. โชคชัย ที่มีขนาดรองรับปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนไม่น้อยกว่า 466.96 ตันต่อวัน ภายใต้สัญญาโครงการแบบ Build-Own-Operate (BOO) มีอายุ 25 ปี โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ และกำลังผลิตเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) 8.0 เมกะวัตต์
“การได้มาซึ่งสัญญาการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน 2 แห่งนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนโรงไฟฟ้าในกลุ่มโรงไฟฟ้าขยะชุมชนของบริษัทฯ เป็น 4 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 31.8 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ธุรกิจที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดของบริษัทฯ ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตรวมให้กับบริษัทฯ แล้ว อีกแง่หนึ่งยังสามารถช่วยจัดการปัญหาขยะตกค้างให้กับชุมชนและประเทศชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งโรงไฟฟ้าขยะชุมชนเชียงหวาง และโรงไฟฟ้าขยะชุมชนโชคชัย หากได้รับสัญญา PPA ตามที่คาดไว้คือ 8 เมกะวัตต์ ในราคาแบบ FiT (5.78 บาทต่อหน่วย) คาดจะช่วยเพิ่มรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับบริษัทฯ ได้อีกปีละประมาณ 380 ล้านบาทต่อโรงไฟฟ้า ซึ่งยังไม่รวมค่าบริหารจัดการขยะตามสัญญา”
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ACE มีการดำเนินงานโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่ทำการ COD จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เรียบร้อยแล้วจำนวน 2 แห่ง คือ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6 เมกะวัตต์ และ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งสองแห่งถือเป็นโมเดลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับอย่างสูงจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถกำจัดขยะชุมชนที่มีความชื้นได้สูงถึง 80% ด้วยวิธีการเผาตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีการคัดแยกและแปรรูปขยะให้เป็นเชื้อเพลิงก่อน รวมทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นโรงไฟฟ้าระบบปิดที่ไม่มีการปล่อยของเสียใดๆ ออกสู่ธรรมชาติ (Zero Discharge) แม้กระทั่งน้ำชะขยะก็ยังสามารถบำบัดให้เป็นน้ำใสและนำกลับมาใช้ประโยชน์ภายในโรงไฟฟ้าต่อได้ จึงถือเป็นโมเดลโรงไฟฟ้าชุมชนต้นแบบที่เหมาะจะนำไปใช้แก้ไขปัญหาขยะชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยและต่างประเทศได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน
ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ACE มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว กำลังการผลิตติดตั้งรวม 247.43 เมกะวัตต์ (ข้อมูล ณ 30 เมษายน 2564) และมีกำลังการผลิตติดตั้งที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 221.94 เมกะวัตต์ (เมื่อนับรวมโรงไฟฟ้าขยะชุมชนเชียงหวางและโรงไฟฟ้าขยะชุมชนโชคชัย) รวมเป็นกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 469.37 เมกะวัตต์ และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งให้ได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS