{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชน โลก” มาตั้งแต่ปี 2536 เพื่อให้ประชาคมโลกตระหนักถึงเสรีภาพของสื่อมวลชน
ปัจจุบัน การคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชนยังคงมีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ธุรกิจสื่อถูกแทรกแซง ถูกเซ็นเซอร์ และบางแห่งต้องปิดตัวลง ในขณะที่นักข่าว บรรณาธิการ และสำนักพิมพ์ต้องถูกข่มขู่ คุกคาม กักขังหน่วงเหนี่ยว หรืออาจถูกฆาตกรรม
วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้สังคมโลกได้ร่วมกันปกป้องเสรีภาพของสื่อมวลชน เพื่อระลึกถึงนักข่าวผู้เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงให้สื่อมวลชนได้ตระหนักถึงเสรีภาพและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
ประเทศไทยอยู่ตรงไหนของ “อันดับเสรีภาพสื่อมวลชนโลก”
องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters without Boarders: RSF) ได้ทำการจัดอันดับเสรีภาพของสื่อมวลชนใน 180 ประเทศทั่วโลก (World Press Freedom Index) โดยการให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน นักกฎหมาย และนักสังคมวิทยา ตอบคำถามในแบบสอบถามจำนวน 87 ข้อ เพื่อวัดเสรีภาพของสื่อมวลชนในประเทศต่างๆ
เกณฑ์การวิเคราะห์ ได้แก่ ความหลากหลายของความคิดเห็นที่ปรากฎตามพื้นที่สื่อ เสรีภาพของสื่อมวลชนในการทำงานท่ามกลางการเมือง รัฐบาล ภาคธุรกิจ อำนาจศาสนา และกลุ่มอิทธิพล สภาพแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อมวลชน การตรวจสอบดูแลกันเองของสื่อมวลชน กฎหมายกำกับดูแลการทำงานของสื่อมวลชน ความโปร่งใสของสถาบันสื่อและขั้นตอนการผลิตข่าว คุณภาพโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตข่าว รวมถึงการดูหมิ่น คุกคาม หรือการกระทำรุนแรงต่อสื่อมวลชนในช่วงเวลาที่ทำการประเมิน
ประเทศที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพ 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี (Good) ส่วนประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน เสรีภาพของสื่อมวลชนถูกจัดอยู่ในเกณฑ์แย่ (Bad) ถึงแย่มาก (Very Bad)
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://en.unesco.org/sites/default/files/wpfd_938x346_en.jpg
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS