{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การีนาเปิดตัวนักรบหญิง ‘ศยามนาคา เวเรส’ สกินไทยรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น จาก ‘Amazing RoV Design Contest’จับมือ ททท. ชวนมองเที่ยวไทยมุมใหม่ แจกสกินรับสงกรานต์ 2564
นายกฤตย์ พัฒนเตชะ Senior Director บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า การีนาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดตัวสกิน "ศยามนาคา เวเรส" (Siamnaga Veres) สกินไทยภายใต้คอนเซปต์ “นักสู้แดนสยาม” ซึ่งพัฒนามาจากผลงานการออกแบบของผู้ชนะเลิศโครงการประกวดออกแบบสกิน “Amazing RoV Design Contest” ปีที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นในปี 2563 ที่ผ่านมา เตรียมเปิดให้ผู้เล่นเกม Arena of Valor (RoV) ทั้งในไทยและต่างประเทศร่วมเป็นเจ้าของได้ โดยมีแผนปล่อยสกิน "ศยามนาคา เวเรส" (Siamnaga Veres) บนเซิร์ฟเวอร์ไทยเป็น ที่แรก ในช่วงสงกรานต์ 2564 นี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านดิจิทัลคอนเทนต์
สกิน “ศยามนาคา เวเรส” (Siamnaga Veres) นับเป็นส่วนผสมที่ลงตัว โดยนำตัวละครเวเรส (Veres) นักรบหญิงที่งดงามและดุดัน มาผสานเข้ากับความวิจิตรงดงามแบบไทยประยุกต์ของ “วัดร่องเสือเต้น” ซึ่งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยสีน้ำเงินสดตัดด้วยสีทองอร่าม ชูความวิจิตรสง่างามพลิ้วไหว ทว่ายังแข็งแกร่งน่าเกรงขามในขณะเดียวกัน โดยผู้ออกแบบวัดร่องเสือเต้นคือศิลปินพื้นบ้านชาวเชียงราย นายพุทธา กาบแก้ว (สล่านก) ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ในการสร้างวัดร่องขุ่น และเนื่องจากวัดร่องเสือเต้นนับเป็นแหล่งรวมประติมากรรมไทยมากมาย จึงกลายเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดเชียงรายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่าชาติให้มาเยี่ยมชมความสวยงามในทุกๆ ปี
นายตาวัน แสงกระจุย ผู้ออกแบบสกินศยามนาคา เวเรส (Siamnaga Veres) ได้เปิดเผยแรงบันดาลใจในการออกแบบว่า “ประทับใจในเอกลักษณ์ของวัดร่องเสือเต้นซึ่งเป็นพุทธศิลป์ที่วิจิตรไม่เหมือนใคร หากสามารถใช้งานออกแบบเพื่อโปรโมตการท่องเที่ยวไทยได้ ก็อยากจะนำเสนอวัดร่องเสือเต้นให้ทุกคนได้รู้จักผ่านทางสกินที่ผมตั้งใจออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยในทุกรายละเอียดของตัวสกิน ตลอดจนเอฟเฟกต์ต่างๆ ตั้งใจสร้างสรรค์ออกมาให้สมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยสกิน “ศยามนาคา เวเรส” (Siamnaga Veres) จะต้องคงความเป็นหญิงแกร่งของเวเรสไว้ และในขณะเดียวกันก็ต้องสะท้อนเอกลักษณ์ของวัดร่องเสือเต้นออกมาให้มากที่สุด ทั้งประติมากรรมที่โดดเด่น โทนสี และลวดลายไทย”
นายตาวัน ยังอธิบายถึงการออกแบบสกินและสกิลของศยามนาคา เวเรส (Siamnaga Veres) อีกว่า “เนื่องจากวัดร่องเสือเต้นได้รับความนิยมจากสีน้ำเงินสดสวย จึงนำสีน้ำเงินของวัดมาเป็นสีหลักของชุดเวเรส ส่วนโซ่ซึ่งเป็นอาวุธดั้งเดิมของเวเรสถูกดีไซน์ใหม่ให้มีลักษณะคล้ายพญานาค ตามประติมากรรมพญานาคของวัดร่องเสือเต้นที่ยิ่งใหญ่และน่าเกรงขาม ผสมผสานศิลปะลายเส้นความอ่อนช้อยแบบล้านนา นอกจากนี้ยังเสริมความสง่างามให้เวเรสด้วยเครื่องประดับศีรษะลวดลายไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงศีรษะของพญานาค เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวตามแบบฉบับนักรบหญิงไทย ศยามนาคา เวเรส (Siamnaga Veres) ยังสามารถเรียกพญานาคออกมาร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ นอกจากนี้พละกำลังการโจมตีซึ่งเป็นจุดแข็งของเวเรสจะยิ่งทรงพลังด้วยสกิล “พญานาคสำแดงเดช” ที่ผสานพลังของเทพในตำนานและนักสู้แดนสยามเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ศัตรูยากจะต่อกรกับพลังของตำนานที่ถูกกล่าวขานกันมานับพันปี
“ศยามนาคา เวเรส (Siamnaga Veres) เป็นนักสู้หญิงที่นำเสนอความเป็นไทยได้อย่างเหมาะเจาะ และบอกเล่าสเน่ห์ของประเทศไทยออกมาได้อย่างน่าค้นหาในหลากหลายมิติ ตั้งแต่ศิลปะแนวพุทธศิลป์ที่เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของคนไทยและอยู่คู่วัฒนธรรมไทยมาช้านาน ตลอดจนความเชื่อและศรัทธาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นตำนานกล่าวขานที่ได้รับความสนใจมาทุกยุคทุกสมัย จึงเป็นความภาคภูมิใจของการีนาที่จะผลักดันให้สกิน RoV นำความเป็นไทยออกไปนำเสนอสู่สายตาชาวโลก โดยสกิน “ศยามนาคา เวเรส” (Siamnaga Veres) จะถูกเผยแพร่ไปยังประเทศอื่นๆ ที่การีนาเปิดบริการเกม RoV ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นอีกโอกาสอันดีที่เราจะได้ประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวไทยไปสู่สายตาสากล ย้ำเตือนให้ผู้คนไม่ลืมเลือนความเป็นจุดหมายปลายสำหรับการท่องเที่ยวในระดับโลก (World Class Destination) ของประเทศไทย อย่างที่เราเป็นเสมอมา” นายกฤตย์ กล่าวเสริม
แฟน RoV ชาวไทย สามารถรับสกิน “ศยามนาคา เวเรส” (Siamnaga Veres) สุดพิเศษได้ เพียงร่วมกิจกรรมฉลองสงกรานต์ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมจัดขึ้นกับการีนา (ประเทศไทย) ช่วงเดือนเมษายน 2564 นี้
ส่วนซูเปอร์สตาร์ไทยคนไหนจะมารับบทบาทเป็น “ศยามนาคา เวเรส” (Siamnaga Veres) ในครั้งนี้ รอติดตามชมได้ที่ Garena RoV Thailand Facebook Page
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS