BRRปั้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย เป็น New S-Curve

BRR เปิดแผนสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ปั้นธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย เป็น New S-Curve ผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืน

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR เปิดเผยว่า ในปี 2562 บริษัทมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง รองรับจังหวะราคาตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 16 เซนต์ต่อปอนด์สูงสุดในรอบ 4 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกหลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทำให้มีความต้องการบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้น สวนทางผลผลิตทั่วโลกลดลงจากปัญหาเอลนีโญ และประเทศผู้ส่งออกเบอร์ 1 อย่างประเทศบราซิล ได้เพิ่มสัดส่วนนำน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้นทำให้ซัพพลายในตลาดลดลง พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังได้เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจจากการนำน้ำตาลทรายดิบไปทำเป็นน้ำตาลรีไฟน์ (น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์) ที่สร้างกำไรต่อหน่วยที่ดีกว่าซึ่ง ทำให้ BRR สามารถเก็บเกี่ยวรายได้สูงสุดจากธุรกิจน้ำตาล

นอกจากนี้ บริษัทยังนำสิ่งเหลือจากการปลูกอ้อยและจากกระบวนการผลิตน้ำตาลไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง ทำให้ BRR ได้ประโยชน์สูงสุดและลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำชานอ้อยไปเผาเป็นเชื้อเพลิง ชีวมวลผลิตไฟฟ้าและนำไปทำบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ขณะที่กากหม้อกรองนำไปผลิตเป็นปุ๋ยเพื่อนำไปช่วยเหลือให้แก่ชาวไร่ เพื่อให้มีต้นทุนการเพาะปลูกที่ต่ำลงและปุ๋ยมีคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาพดินแต่ละพื้นที่

กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ที่ดำเนินการภายใต้ บริษัท ชูการ์เคนอีโคแวร์ จำกัด ถือเป็นธุรกิจ New S Curve มาต่อยอดสร้างความมั่นคงของรายได้จากการนำชานอ้อยไปทำบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจำหน่ายผ่านค้าปลีกสมัยใหม่และร้านค้าส่ง ร้านอาหาร โรงแรมทั้งในและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น โดยมีกำลังการผลิต 300 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า

ขณะที่กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลนั้นกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์อีก 1 โรงนั้น บริษัทฯ ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนตามนโยบายภาครัฐ หรือโครงการ Quick Win จากปัจจุบันที่ BRR ได้จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟภ. รวม 16 เมกะวัตต์ ที่ดำเนินการภายใต้กองทุนโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ (โดยโรงไฟฟ้าโรงที่ 1สิ้นสุดสัญญา 10 สิงหาคม 2571 และโรงที่ 2 สัญญาสิ้นสุด 6 เมษายน 2578)

นายสมยศ ชั่งยงสุวรรณ ผู้อำนวยการสายงานบัญชีและการเงิน BRR กล่าวว่า ภาพรวมการผลิตน้ำตาลของกลุ่มรอบปีการผลิต 2563/64 นั้น คาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 1.75 ล้านตันอ้อย และมีผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) อยู่ที่ 122 กิโลกรัมต่อตันอ้อย สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมอยู่ที่ 111 กิโลกรัมต่อตัน ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มธุรกิจน้ำตาลของ BRR พร้อมแผนสร้างมูลค่าให้แก่ธุรกิจน้ำตาลเพิ่มอัตราการทำกำไรต่อหน่วยที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อภาพรวมการดำเนินธุรกิจของ BRR เติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง

ส่วนกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ประเมินว่ามีแนวโน้มเติบโตที่ดีในระยะยาว หลังสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยบริษัทฯ เร่งทำตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า โดยมองว่าธุรกิจดังกล่าว ทำให้ BRR ต่อยอดสร้างรายได้ที่ดีและช่วยบริหารความเสี่ยงจากการพึ่งพาการผลิตน้ำตาลเพียงอย่างเดียว

ส่วนนภาพรวมการดำเนินงานในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ทำกำไรสุทธิรวมได้ 6.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 511.77 ล้านบาท ถือเป็นการทำผลประกอบการเทิร์นอะราวนด์ อันเนื่องจากการบริหารจัดการด้านต้นทุนการผลิตน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้กำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 625 ล้านบาท แม้รายได้จากการขายและการบริการทำได้ 3,892 ล้านบาทก็ตาม


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment