{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ม.อ.สุดล้ำ เปิดตัวเครื่องมือ “ตาไว” Version 3.0 รับยุคดิจิทัล ชู Database ตรวจสอบความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ-โฆษณาเกินจริง
ผศ.ดร.ภก.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายระบบขับเคลื่อนวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะเภสัชศาสตร์ ได้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพภายใต้ชื่อว่า “TaWai for Health (ตาไว)” ขึ้น เพื่อพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าจะเกิดอันตรายและการโฆษณาเกินจริง ที่ส่งผลกระทบในระดับชุมชน สถานพยาบาล หรือบนอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็น Database เสริมสร้างข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องให้แก่สาธารณชนได้รับรู้
ล่าสุดเครื่องมือตาไวถูกพัฒนาเป็น Version 3.0 เป็นรูปแบบของการปฏิบัติภารกิจคุ้มครองผู้บริโภค ให้มาอยู่บน Digital platform ทั้งด้านการบริหารจัดการ และการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยมีเครือข่ายการทำงานครอบคลุมกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ใช้งาน ทั้งเภสัชกร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (อสม.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิต่างๆ และนักเรียนในโรงเรียน จำนวนกว่า 1,000 คน มีการรายงานปัญหามาทั้งหมดกว่า 5,000 รายการ โดยผู้สนใจเข้าใช้งานระบบตาไว สามารถดูรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ www.tawaiforhealth.org หรือ เฟสบุ๊กแฟนเพจ : ตาไวรู้ทันภัยสุขภาพ
ภก.ชวลิน อินทร์ทอง นักวิจัยประจำโครงการวิจัย กล่าวว่า ม.อ.มุ่งวิจัยเครื่องมือตาไว เพื่อค้นหากระบวนการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเอาระบบ social listening มาเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มผู้ใช้งานเดิม การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายองค์กรต่างๆ เพิ่มขึ้น และการปรับทิศทางของภารกิจวิจัยในอนาคตมาที่การเสริมพลังฝั่งผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และการประสานงานระหว่างผู้รับผิดชอบและเข้าแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที โดยทาง ม.อ. มุ่งมั่นผลักดันให้โครงการตาไวเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับใช้งานแพร่หลายทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลในตัดสินใจในเชิงนโยบายต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้โครงการ TaWai for Health (ตาไว) จับมือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ และ อสม. เป็นเครือข่ายในการรายงานผ่านเครื่องมือดังกล่าว โดยนำเสนอข้อมูลของปัญหา พร้อมกับการแจ้งเตือนไปยังผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา จากนั้นข้อมูลปัญหาจากทุกพื้นที่ที่ใช้งานระบบจะถูกส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อการแก้ไขปัญหาในระดับประเทศต่อไป เนื่องจากปัจจุบันการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในโลกดิจิทัลที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารโฆษณาที่เกินจริง ขณะที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS