{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้จำหน่ายสลากเกินราคาลงในร่างพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่..) พ.ศ.... ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ จากปัจจุบันบทลงโทษตามกฎหมายเอาผิดคนขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา ปรับไม่เกิน 2,000 บาท เป็นโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อาจสร้างความฮือฮาให้แก่วงการผู้ค้าสลาก โดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อยที่ไม่มีโควต้า ต้องไปซื้อต่อจากบรรดายี่ปั๊ว ซาปั๊วมาขายต่อ แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะบทลงโทษที่ปรับใหม่นี้ ก็อยู่ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 11/2558 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้อยู่แล้ว
ที่น่าสนใจก็คือการเพิ่มบทบาทให้สำนักงานสลากฯ สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการของตลาดได้ ก็จะทำให้สำนักงานสลากฯ มีโอกาสที่จะสร้างรูปแบบการเสี่ยงโชคอย่างถูกกฎหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดทำสลากแบบออนไลน์ที่วางแผนกันมานาน หรือทำแบบเดียวกับต่างประเทศ อย่าง ล๊อตโต้ ซูเปอร์บอล ที่สามารถสะสมเงินรางวัลได้ หากไม่มีผู้ถูกรางวัล
ย้อนกลับไปในอดีต สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พยายามหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาสสากราคาแพงมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนสลาก การปรับเพิ่มราคาหน้าสลาก การจัดระบบกระจายสลาก การปรับวันจ่ายสลาก ป้องกันไม่ให้กลับเข้ามาอยู่ในมือบรรดายี่ปั๊ว ซาปั๊ว ในการรวมชุดสลาก การเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ค้าสลาก การออกตรวจสอบอย่างจริงจัง แต่เป็นเพียงไฟไหม้ฟางเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ทุกอย่างก็กลับเข้าสู่วงจรสลากแพงตามปกติ
บรรดายี่ปั๊วซาปั๊ว ขาใหญ่ทั้งหลาย ต่างปรับรูปแบบตามแผนของสำนักสลากฯ เพื่อให้ได้มาของสลากและนำมารวมชุดเพื่อขายในราคาแพงได้ โดยไม่โดนจับเหมือนรายย่อยที่ต้องก้มหน้ารับกรรมแทน
ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยมีผู้บริหารของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลคนใด สามารถขจัดปัญหาสลากแพงได้อย่างสิ้นเชิง
แม้ในยุคที่รัฐบาลจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ และให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสลากราคาแพงในอันดับต้นๆ ในการบริหารประเทศดีเดียว
การส่ง "พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์" ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล และ พล.ต. ฉลองรัฐ นาคอาทิตย์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ) เพื่อมากำราบความแรงของขาใหญ่ในวงการค้าสลาก และจัดการปัญหาสลากแพงแบบเบ็ดเสร็จ แบ่งเป็น 3 เฟส ซึ่งล่าสุดเข้าสู่เฟสที่ 3
การเพิ่มส่วนลดให้ผู้ค้าสลาก การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จับกุมผู้ขายเกินราคา การรื้อโควตาสลาก เปิดช่องการจัดสรรขายตรงให้แก่รายย่อย จองซื้อล่วงหน้าผ่านธนาคารกรุงไทย การเพิ่มปริมาณการพิมพ์สลากออกขายจากงวดละ 37 ล้านฉบับคู่เป็น 50 ล้านฉบับคู่ จนเป็น 80 ล้านฉบับ การกระจายโอกาสการซื้อขายสลากอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม ก็ยังไม่สามารถกำหราบกระบวนการขายสลากราคาแพงได้หมดสิ้น
ล่าสุดแนวคิดในการจัดทำสลากชุดมาจำหน่ายเอง ก็ยังมีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง จนมาถึงการเพิ่มบทลงโทษผู้ค้าสลากเกินราคา
การเพิ่มช่องทางให้สลากสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ได้
หรือแม้แต่การนำระบบออนไลน์มาใช้ การเพิ่มรูปแบบ เช่น ล๊อตโต้ เหมือนในต่างประเทศ
ซึ่งการจัดการปัญหาด้วยวิธีการเหล่านี้อาจเป็นทางออกที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าอาจมีผลกระทบต่อกลุ่มคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้เสียประโยชน์ น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ เสียงดังจะทำได้ดีเพียงใด
ขณะที่บรรดายี่ปั๊ว ซาปั๊ว ขาใหญ่ยังคงดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง มีกระบวนการรวมสลากออกขายราคาแพง กินค่าส่วนต่างโดยกฎหมายยังเข้าไปกำราบได้ไม่เต็มที่
ทำอย่างไรจึงจะขจัดคนกลุ่มนี้ให้หมดไป เพราะหากยังมีอยู่ ก็คงแก้สลากแพงลำบาก
จึงเป็นที่มาของคำถาม เพิ่มโทษ เพิ่มสลาก แก้ปัญหาแพง แก้ได้จริงหรือไม่?
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS