CISเผยพฤติกรรมราคาซื้อขายคริปโตเปลี่ยน หลังเทสล่าลงทุน บิทคอยน์

CISเผยพราคาซื้อขายคริปโตจะเปลี่ยนแปลง หลังเทสล่าลงทุน บิทคอยน์ ทำให้นักลงทุนหันลงทุนระยะยาวมากขึ้น

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) เปิดเผยว่า การที่เทสล่า ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังของโลกออกมาประกาศ ว่า ได้ลงทุนในบิทคอยน์ (Bitcoin) มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ ในฐานะเงินทุนของบริษัท รวมถึงเปิดรับให้สามารถใช้บิทคอยน์ในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทได้เป็นการส่งสัญญาณ ว่า บิทคอยน์ มีโอกาสขึ้นชั้นเป็นหนึ่งในสินทรัพย์การลงทุนที่นักลงทุนกลุ่ม Traditional จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ บิทคอยน์ ได้จากการยอมรับโดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อย่าง Microstrategy, Square และ Paypal รวมถึงนักลงทุนสถาบันอย่าง Paul Tudor Jones เจ้าของเฮดจ์ฟันด์รายใหญ่ของโลกที่เพิ่มสัดส่วน บิทคอยน์ ลงในพอร์ตลงทุน 1% รวมถึงบริษัทประกันรายใหญ่ Mass Mutual ที่ลงทุน 100 ล้านดอลลาร์ในบิทคอยน์

ทั้งนี้ การที่นักลงทุนสถาบันหันมาถือ บิทคอยน์ จะส่งผลต่อพฤติกรรมราคาในตลาดทำให้ความผันผวนของ บิทคอยน์ ลดลง เนื่องจากวิธีการลงทุนของนักลงทุนสถาบัน หรือ คอร์ปอเรท จะเป็นการถือระยะยาวมากกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น

แนวโน้มในอนาคตหากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หันมาลงทุนในบิทคอยน์มากขึ้น จะมีส่วนในการผลักดันราคาบิทคอยน์ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น โดย Ark Investment บริษัทจัดการลงทุนระดับโลกเพิ่งออกบทวิจัยออกมาสนับสนุนแนวคิดนี้

การวิจัยของ Ark Invest ระบุว่า หากบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 จัดสรรเงินลงทุน 1% ของทุนสำรองบริษัทเข้ามาซื้อ Bitcoin จะช่วยดันให้ราคา Bitcoin ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก 40,000 ดอลลาร์ และถ้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 10% ราคาจะเพิ่มได้ถึงระดับ 400,000 ดอลลาร์

การจำลองโมเดลการลงทุนของ Ark ยังระบุว่า หากนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ บริษัทประกัน และกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติหันมาถือ Bitcoin ในสัดส่วน 2.5% ของพอร์ตลงทุนรวม จะดันราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นได้อีก 200,000 ดอลลาร์ และถ้าเพิ่มเป็นสัดส่วน 6.5% จะดันราคาขึ้นไปได้อีก 500,000 ดอลลาร์

ทั้งนี้ การที่ราคาทองคำร่วงลงมาตั้งแต่ต้นปี 2021 จากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า แต่บิทคอยน์กลับยังเดินหน้าบวกได้ต่อ อาจเป็นเพราะนักลงทุนสถาบันให้ค่ากับบิทคอยน์ในการเป็น Store Of Value มากกว่าทองคำ ขณะที่ ทองคำ มีผู้ลงทุนรายใหญ่ คือ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ชะลอการซื้อทองคำ จากการที่เงินดอลลาร์แข็งค่า

อีกหนึ่ง ในข้อสังเกต คือ นับตั้งแต่ปลายปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนซัพพลายของบิทคอยน์ ที่เคยไหลเวียนอยู่ในกระดานเทรด หรือ Exchange ทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เป็นการบอกว่านักลงทุนรายใหญ่ หรือ นักลงทุนสถาบัน อาจจะทำการซื้อและจัดเก็บบิทคอยน์ไว้ใน Custody หรือ Hardware Wallet ซึ่งจะไม่ถูกนำมาซื้อขายผ่านตลาดรองอีก จึงมีผลทำให้เกิดซัพพลายลงลง และหากมีความต้องการบิทคอยน์ เพิ่มเข้ามาก็จะทำให้ราคาบิทคอยน์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามหลักการดีมานต์ซัพพลายนั่นเอง

สำหรับแนวโน้มทางเทคนิคของบิทคอยน์ ทั้งในภาพใหญ่และระยะสั้น ยังเป็นขาขึ้นที่ชัดเจน โดยกำลังอยู่ในช่วงเวฟที่สาม ตามทฤษฎี Elliot Wave โดยมีแนวต้านต่อไปจากนี้ที่ระดับ 48,000 ดอลลาร์ ขณะที่แนวรับใช้แนวต้านเดิมที่เพิ่งจะทำจุดสูงสุดใหม่ที่ระดับ 42,000 ดอลลาร์ แม้ระยะยาวบิทคอยน์ จะเป็นขาขึ้นแต่ไม่แนะนำให้ไล่ซื้อควรจับจังหวะราคาย่อตัวลง และไม่หลุดแนวโน้มขาขึ้นค่อยลงทุน โดยรวมๆ แล้วสามารถลงทุนได้ในสัดส่วน 5-10% ของพอร์ตลงทุนรวม


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment