{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 เกิดอุบัติภัยทางนิวเคลียร์ (nuclear accident) ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลกขึ้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl) สร้างอยู่ห่างจากเมืองเชอร์โนบิลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 18 กิโลเมตร และใกล้ชายแดนเบลารุส ซึ่งในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
จากการระเบิดครั้งนั้นทำให้ประชาชนกว่า 40,000 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองพริเพียต (Pripyat) จังหวัดเคียฟ (Kiev) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่เกิดเหตุระเบิดไม่ถึง 2 กิโลเมตร ต้องรีบอพยพออกจากพื้นที่ภายในสองวัน และไม่มีวันได้หวนกลับมายังบ้านเกิดอีกเลย ปัจจุบันเมืองนี้ยังคงมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในระดับสูง จนไม่สามารถให้ประชาชนเข้ามาอาศัยอยู่ได้ จึงมีสภาพเป็นเมืองร้างมาถึงทุกวันนี้
การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ยังทำให้สารกัมมันตภาพรังสีลอยสู่ชั้นบรรยากาศยาวนานถึง 10 วัน ปกคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของสหภาพโซเวียตและกระจายพื้นที่ไปยังประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยุโรปกลางและตะวันออก เยอรมันตะวันตก กรีซ สวิสเซอร์แลนด์ ตอนเหนือของฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร
พื้นที่กว่า 200,000 ตารางกิโลเมตรของประเทศยูเครน รัสเซียและเบลารุสได้รับการปนเปื้อนจากสารกัมมันตภาพรังสีในระดับสูง ทำให้ทางการของทุกประเทศที่ได้รับผลกระทบต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่กว่า 300,000 คน ขณะที่พื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลในรัศมี 30 กิโลเมตรถูกประกาศให้เป็นเขตอันตราย
ผลกระทบที่ส่งต่อมาถึงปัจจุบัน
บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์ว่า การระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลทำให้สารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลมากกว่าเหตุการณ์ทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมะและนางาซากิถึง 200 เท่า และกว่าสารกัมมันตภาพรังสีจะสลายหมดไป รวมถึงการฟื้นฟูให้เมืองกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้นั้นอาจต้องใช้เวลานานถึง 300 ปี
หายนะจากการระเบิดในครั้งนั้น สร้างความเสียหายอย่างมากและส่งผลกระทบมาถึงทุกวันนี้ ความสูญเสีย ความผิดปกติของร่างกายที่ได้รับจากสารกัมมันตรังสี การเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือแม้กระทั่งการกลายพันธุ์ที่ประชาชนต้องทนทุกข์อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาไปตลอดชีวิต
จากรายงานของคณะกรรมการวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ (UNSCEAR) ในปี 2548 พบว่า มีเด็กและวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในเบลารุส รัสเซียและยูเครนป่วยเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์มากถึง 6,000 ราย และจากรายงานการประชุมเชอร์โนบิล ฟอรัมปีเดียวกัน ระบุว่าในอนาคตอาจมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับสารกัมมันตภาพรังสีอีกกว่า 4,000 คน
จากการศึกษาโดยกรีนพีซ (Green Peace) ในปี 2549 ประเมินจากสถิติโรคมะเร็งแห่งชาติเบลารุส พบว่าจะมีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งจำนวน 270,000 คน และจะมีผู้ป่วยที่เจ็บป่วยร้ายแรงจากโรคมะเร็งถึง 97,000 ราย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลทั้งสิ้น
แม้นิวเคลียร์จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มหาศาล แต่ในประโยชน์นี้ก็มีโทษร้ายแรงและกำลังทำลายล้างมหาศาลเช่นเดียวกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นจึงเปลี่ยนมุมมองของคนทั่วโลกที่มีต่อพลังงานนิวเคลียร์ไปอย่างสิ้นเชิง
มาตรวัดระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์และอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ โดยทั่วไปจะวัดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES: International Nuclear Event Scale) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับประเมินเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ แต่มาตรวัดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น การแผ่รังสีของก๊าซเรดอน (radon) เป็นต้น
มาตรวัดนี้จะแบ่งออกเป็น 7 ระดับ โดยประเมินจากผลกระทบ 3 อย่าง คือ จากการสูญเสียการป้องกันเชิงลึก (defence in depth degradation) ผลกระทบ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน (on-site effect) และผลกระทบนอกสถานที่ตั้งโรงงาน (off-site effect) โดยระดับ 0 ลงไปไม่มีนัยที่สำคัญ (no safety significance) ระดับ 1-3 จัดเป็นอุบัติการณ์ (incident) และระดับ 4-7 จัดเป็นอุบัติเหตุ (accident)
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS