GDCC พร้อมขยายเฟสสอง ลุยอบรมสร้างบุคลากรภาครัฐบริหารงานบนคลาวด์

ดร.พัชรินี เทียนตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายธุรกิจคลาวด์และบิ๊กดาต้า บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดการบรรยายและอบรมหลักสูตร Government Official Cloud Competency (GOCC) Essential รุ่นที่ 6 ให้แก่ผู้แทนหน่วยงานรัฐจากกรมต่างๆ 350 คน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม สำนักงานใหญ่ CAT เมื่อวันที่ 15-17 ธ.ค.63 สร้างความรู้ความเข้าใจด้านคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรภาครัฐเข้าสู่ยุคใหม่ของการบริหารงานราชการบนคลาวด์กลางภาครัฐหรือ GDCC

โครงการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) หรือ Gov Cloud โดยการขับเคลื่อนของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เป็นบริการรวมศูนย์การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเสมือน (Virtual Machine) ที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน ISO 270001 ISO 20000-1 CSA STAR และ SLA 99.99% โดย CAT เป็นผู้ดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ Gov Cloud ตั้งเป้าให้บริการไว้รวมทั้งสิ้น 20,000 vm ในปี 2565 แต่สิ้นปี 2563 ได้มีตัวเลขขอเข้าใช้จากภาครัฐแล้วถึง 40,000 vm

“ปัจจุบันภาครัฐก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อให้บริการได้รวดเร็วผ่านคลาวด์ ทำให้มีความต้องการใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจำนวนมากเกินเป้าหมาย ล่าสุดโครงการฯ ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับ เฟสต่อไปโดยปรับเป้าหมายปี 2565 ให้ สามารถรองรับได้อย่างน้อย 35,000 vm โดยจะดำเนินการจัดสรรทรัพยากรคลาวด์ ให้ตามลำดับความพร้อมของแต่ละหน่วยงานซึ่งมีความพร้อมด้านระบบไอทีสารสนเทศไม่เท่ากัน”

อย่างไรก็ตาม CAT ได้โอนย้ายระบบงานของหน่วยงานต่างๆ ขึ้นสู่ระบบ Gov Cloudคลาวด์ GDCC เรียบรัอยแล้วกว่า 21,000 vm ทั้งนี้ นอกจาก Hardware ที่เพียงพอแล้ว การพัฒนา Peopleware หรือบุคลากรไอทีภาครัฐทุกหน่วยงานให้มีความรู้ความเข้าใจด้านคลาวด์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการบิ๊กดาต้าภาครัฐบน Gov Cloud ให้เกิดประสิทธิภาพบนมาตรฐานเดียวกัน โดยที่ผ่านมาโครงการ GDCC ได้จัดอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐเพิ่อ เป็นกำลังสำคัญในการบริหารระบบงานภาครัฐบนคลาวด์กลาง GDCC แล้วกว่า 1,000 คน และมีเป้าหมายการอบรมรวมทั้งสิ้น 2,500 คน

ดร.พัชรินี กล่าวย้ำว่าเป้าหมายหลักของ GDCC คือการยกระดับประเทศไทยในด้านคลาวด์เพื่อให้ขับเคลื่อนไปถึงจุดหมายคือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็น Smart & Open Government คือใช้ข้อมูลบิ๊กดาต้าในการตัดสินใจ โดยเมื่อมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐด้วยกันยิ่งทำให้เห็นภาพรวมสามารถตัดสินใจดำเนินการนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาตอบโจทย์พัฒนาประเทศได้ดียิ่งขึ้น

“ประเทศไทยสามารถไปถึงจุดหมาย Smart & Open Government เนื่องจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตค่อนข้างครอบคลุมได้ดี นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มฐานรองรับสำคัญคือ Law and Regulation การกำกับดูแลและกฎหมายโดยปัจจุบันที่ได้มีการเริ่มดำเนินการร่าง Cloud Policy และ National Data Strategy แล้ว”

นอกจากนี้ บทบาทสำคัญของคลาวด์ GDCC คือการจัดเก็บและบริหารข้อมูลภาครัฐในยุคดิจิทัลและ5G โดยเทรนด์การใช้งานดาต้าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 75 เท่า ใน 5 ปีข้างหน้า ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจะเพิ่มมากขึ้นมากและการซื้อ Storage ของหน่วยงานจะไม่สามารถตอบโจทย์ Cost effective ได้ ซึ่งโซลูชันที่ตอบโจทย์คือการแชร์ทรัพยากรบนคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment