{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เจดับเบิ้ลยูดีวางแผนขยายการลงทุนศูนย์กระจายสินค้าห้องเย็นในจังหวัดเศรษฐกิจ รองรับบริการรวบรวม คัดแยก บรรจุหีบห่อ กระจายสินค้าแช่เย็นและแช่แข็ง
นายจิตชัย นิมิตรปัญญา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD เปิดเผยว่า บริษัทจึงวางแผนขยายการลงทุนก่อสร้าง Cold Storage Distribution Center (ศูนย์กระจายสินค้าห้องเย็น) ในจังหวัดเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นฮับในการขนส่งแบบ Cross Docking หรือให้บริการรวบรวมสินค้าจากซัพพลายเออร์เพื่อนำมาคัดแยก บรรจุหีบห่อ และจัดส่งให้แก่ลูกค้าทั่วประเทศ รองรับดีมานด์ในต่างจังหวัดและตอบสนองความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มขยายตัว
โดยเบื้องต้นได้วางโมเดลขยายการลงทุนทั้งในรูปแบบที่บริษัท เป็นผู้ลงทุนเอง 100% และร่วมลงทุนกับพาร์ทเนอร์ที่มีความต้องการใช้พื้นที่คลังสินค้าห้องเย็นในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นจุดรวมรวบ กระจายสินค้า รวมทั้งบริการ on-site service โดยให้ความสนใจลงทุนในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในรูปแบบการก่อสร้างใหม่และเช่าพื้นที่คลังสินค้าห้องเย็น
ส่วนล่าสุดบริษัทอยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังสินค้าห้องเย็น (อาคาร 9) ในย่านมหาชัย รองรับการจัดเก็บสินค้า 12,000 พาเล็ต จุดเด่นคือเป็นคลังสินค้าห้องเย็นสาธารณะที่นำระบบจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (ASRS) มาใช้ทดแทนการจัดเรียงสินค้าด้วยรถโฟล์คลิฟต์ช่วยลดการใช้แรงงาน และสามารถลดการใช้พลังงาน 10-15% เมื่อเทียบกับคลังสินค้าห้องเย็นระบบดั้งเดิม โดยระบบจัดเก็บสินค้าดังกล่าวเป็นรูปแบบเดียวกับอาคาร 8 แต่ใช้งบลงทุนลดลงมากกว่า 10% จากเดิมลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างและติดตั้งระบบแล้วเสร็จช่วงสิ้นปีนี้ เพื่อรองรับการจัดเก็บสินค้าประเภทสัตว์ปีก ประเมินว่าภายในต้นไตรมาส 2/2564 จะมีอัตราใช้พื้นที่แตะ 60% ซึ่งถือเป็นจุดคุ้มทุน เนื่องจากมีสินค้าที่รอการเก็บแล้ว
นายจิตชัย กล่าวว่า บริษัทได้วางนโยบายพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการได้รับการรับรองมาตรฐานคลังสินค้าห้องเย็นเป็นรายแรก ๆ ของประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาขีดความสามารถให้บริการและการบริหารต้นทุน เพื่อรักษาความเป็นผู้นำธุรกิจในประเทศไทย โดยล่าสุดคลังสินค้าห้องเย็นสุวินทวงศ์ ได้รับรางวัล ELMA 2020 จากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมอบให้กับผู้ประกอบการที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากในปี 2562 คลังสินค้าห้องเย็นบางนา และปี 2558 คลังสินค้าห้องเย็นมหาชัยเคยได้รับรางวัลดังกล่าวมาแล้ว
บริษัทยังได้มุ่งเน้นพัฒนามาตรฐานด้านระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้คลังสินค้าห้องเย็นมหาชัยเป็นรายแรกและรายเดียวของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ได้รับรองด้านระบบการจัดการทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการแช่แข็งสินค้า รวมถึงกระบวนจัดเก็บสินค้าที่สอดคล้องกับระบบการจัดการในระดับสากลตามข้อกำหนดของมาตรฐาน FSSC 22000 (Food Safety System Certificate 22000) และมาตรฐาน ISO 22000:2018 (Food Safety Management System) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของอาหารและการตรวจสอบย้อนกลับได้ของกระบวนการทั้งหมดในห่วงโซ่อาหารที่มีประสิทธิภาพแก่ลูกค้า ทั้งที่เป็นบริษัทข้ามชาติและลูกค้าในประเทศ ส่วนปี 2564 วางเป้าหมายขยายการได้รับรองมาตรฐานสากลเพิ่มเติมที่คลังสินค้าห้องเย็นบางนาและสุวินทวงศ์ ปัจจุบันคลังสินค้าห้องเย็นมหาชัย บางนาและสุวินทวงศ์ มีอัตราใช้พื้นที่เฉลี่ยกว่า 80% จากปัจจุบันมีความจุสินค้ากว่า 100,000 พาเล็ต
ในขณะเดียวกัน คลังสินค้าห้องเย็นของ JWD ยังได้รับการรับรองมาตรฐานอื่น ๆ เช่น คลังสินค้าห้องเย็นมหาชัยได้รับใบอนุญาต MSC License หรือการรับรองการทำประมงจากธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมาตรฐาน ASC หรือการรับรองอาหารทะเลจากการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน, คลังสินค้าห้องเย็นบางนาได้รับมาตรฐานรับรองการส่งออกสินค้าประเภทสัตว์ปีกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นหรือ EST. 250, คลังสินค้าห้องเย็นสุวินทวงศ์ได้รับรองมาตรฐานฮาลาลในการจัดเก็บสินค้า เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุกหรือ Q Mark และเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหารด้วยรถบรรทุกแบบควบคุมอุณหภูมิหรือ Q Cold Chain จากกรมการขนส่งทางบก ทั้งยังได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ประเภทธุรกิจขนาดใหญ่และโล่ประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพัฒนาการในระดับดีเลิศ จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS