{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การล่าสัตว์ป่า ตัดไม้นั้นมีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ หากแต่ในสมัยนั้นล่าเพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ปัจจุบันจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความเป็นเมืองขยายสู่พื้นที่ชนบท ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น เป็นผลให้แหล่งอาหารและที่อยู่ของสัตว์ป่าถูกทำลาย รวมถึงมีความต้องการไม้และสัตว์ป่าหายากเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นธุรกิจมืดมูลค่ามหาศาล ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์ป่ามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าบางชนิดใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้ว
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติจึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 ธันวาคม 2503 ซึ่งเป็นวันที่มีการตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าหรือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ขึ้น เนื่องจากในสมัยนั้นมีเพียงพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า ร.ศ.1199 (พ.ศ. 2443) เท่านั้น ยังไม่มีการคุ้มครองสัตว์ป่าอื่นๆ
ต่อมาได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์สัตว์ป่าของประเทศไทยในขณะนั้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคามระดับนานาชาติหรืออนุสัญญาไซเตส (CITES)
ในพระราชบัญญัติฉบับใหม่สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้สะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม โดยได้มีการแก้ไข เพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ป่าสงวนเป็น 19 ชนิด คือ
- นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร - แรด
- กระซู่ - กูปรีหรือโคไพร
- ควายป่า - ละองหรือละมั่ง
- สมันหรือเนื้อสมัน - กวางผา
- เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ - นกแต้วแล้วท้องดำ
- นกกระเรียน - แมวลายหินอ่อน
- สมเสร็จ - เก้งหม้อ
- พะยูนหรือหมูน้ำ - วาฬบรูด้า
- วาฬโอมูระ - เต่ามะเฟือง
- ปลาฉลามวาฬ
ความแตกต่างระหว่างสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง
สัตว์ป่าสงวน คือ สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และตามที่จะกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีอยู่ 19 ชนิด
สัตว์ป่าคุ้มครอง คือ สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์ แบ่งเป็น 7 ประเภท คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด, นก 952 ชนิด, สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด, แมลง 20 ชนิด, ปลา 14 ชนิด และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ 12 ชนิด
สัตว์ป่าทั้งสองประเภทนั้นมีข้อห้ามที่เหมือนกัน คือ ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือห้ามครอบครองเว้นแต่จะได้รับอนุญาต
แต่มีข้อแตกต่างที่ชัดเจนอยู่ข้อหนึ่ง คือ สัตว์ป่าคุ้มครองยังอนุญาตให้นำมาใช้โดยทางราชการเพื่อการศึกษา วิจัย การเพาะพันธุ์หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะ แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยและใกล้สูญพันธุ์ แต่ก็ยังมีจำนวนมากพอที่จะนำมาศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ได้ ต่างจากสัตว์ป่าสงวน ที่มีจำนวนใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจสูญพันธ์ไปแล้วไม่สามารถนำศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ได้ เพราะอาจสูญพันธุ์ในทันทีก็เป็นได้
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติจึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยรณรงค์และกระตุ้นให้ประชาชนรักและหวงแหน พร้อมปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่าให้คงอยู่ตลอดไป
ขอขอบคุณข้อมูล
http://www.dnp.go.th/wildlifednp/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=3
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS