{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ภูฏาน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรภูฎาน (Kingdom of Bhutan) ประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัย รายล้อมไปด้วยหุบเขาสูงใหญ่ และธรรมชาติที่สวยงามอุดมสมบูรณ์
ภูฏาน เป็นประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นหัวใจสำคัญมาตั้งแต่อดีต กล่าวได้ว่า ภูฏานถูกรวบรวมกันไว้เป็นปึกแผ่นด้วยศาสนาพุทธนั่นเอง โดยการอพยพเข้ามาของ ลามะจากทิเบต ที่เข้ามาสร้างศาสนสถานพร้อมกับเผยแผ่ศาสนาพุทธ
ในช่วงนั้น มีลามะจากทิเบตหลากหลายนิกายอพยพมายังภูฏานมากขึ้น ทำให้เกิดการต่อสู้แข่งขันแย่งชิงความเป็นใหญ่ในภูฏาน จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 ลามะ ซับดุง นาวัง นำเกล (Zhabdrung Ngawang Namgyal Rama) คือผู้ที่สามารถเอาชนะนิกายอื่นๆ และได้ปกครองภูฏานมาร่วมสองทศวรรษ
จนกระทั่งเกิดปัญหาความขัดแย้งในระบบการปกครองประเทศ ที่แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ โดยฝ่ายฆราวาสในขณะนั้นคือ จิกมี นัมเกล วังชุก (Jigme Namgyal Wangchuck) เจ้าเมืองตรงซา (Trongsa Penlop) ซึ่งเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลและได้รับการยอมรับนับถือจากชาวภูฏานทั้งหมด และในตอนนั้นได้เกิดการขัดแย้งเรื่องการปกครองที่เมืองปาโร จิกมี นัมเกล วังชุก จึงแต่งตั้งลูกชาย อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) เป็นเจ้าเมืองปาโร นับเป็นการได้อำนาจการปกครองอาณาจักรภูฏานโดยปริยาย
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 คณะสงฆ์ที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองเมืองต่างๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้ทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุกเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกของภูฏาน นับเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์วังชุกเมื่อ 111 ปีที่แล้ว รัฐบาลภูฏานจึงกำหนดให้ทุกวันที่ 17 ธันวาคมเป็นวันชาติ
หลังจากสิ้นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรก ตามระบอบการปกครองของภูฏาน ทรงกำหนดให้พระโอรสสืบทอดราชสมบัติต่อตามลำดับ โดยสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันหรือองค์ที่ 5 คือ สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyel Wangchuck)
ปัจจุบัน ภูฏานปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากรราว 821,000 คน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ไม่มีสัญญาณไฟจราจร และเป็นประเทศเดียวในโลกที่การซื้อขายและสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
แต่สิ่งที่ภูฏานมีคือ วิถีชีวิตที่เรียบง่ายท่ามกลางธรรมชาติอันสมบูรณ์ วัฒนธรรมและประเพณีที่งดงาม ในขณะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ภูฏานยังคงความดั้งเดิมของสังคมไปพร้อมๆ กับโลกปัจจุบัน องค์กษัตริย์ให้ความใส่ใจต่อประชาชนมากกว่าสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามนโยบายการขับเคลื่อนประเทศด้วยความสุขมวลรวมของคนในชาติ หรือ GNH (Gross National Happiness)
โดยมีหลักการ 4 เสาหลัก และ 9 แนวทางปฏิบัติ (4 Pillars and 9 Domains) ดังนี้
หากมองดูแนวคิดนี้ จะพบว่ามีความเชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงวางรากฐานนี้ไว้ให้คนไทยมานานแล้ว อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยและภูฏานมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมานาน โดยเฉพาะความนับถือของสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในหลักการพัฒนาประเทศตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูล
https://www.bhutan.travel/page/history-myths
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_rulers_of_Bhutan
http://www.oceansmile.com/Bhutan/History.htm
http://www.tripdeedee.com/traveldata/bhutan/bhutan01.php
https://www.forbes.com/sites/tmullen/2018/02/27/why-bhutan-is-still-out-of-this-world/#5520df7e44be
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS