{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะลงพื้นที่ จ.พัทลุง ติดตามการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ณ จุดชมวิวทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง พร้อมด้วย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และนายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมให้การต้อนรับ
โดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนบน ณ บริเวณจุดชมวิวทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ได้ขอบคุณและให้กำลังใจประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รับฟังการบริหารจัดการน้ำ ปัญหาทะเลตื้นเขิน-กำจัดวัชพืช ปัญหาผู้เลี้ยงควายน้ำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา แก้ไขปัญหาให้ยั่งยืนนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงลงพื้นที่ตรวจราชการและรับฟังปัญหาของประชาชน เพื่อผลักดันการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ที่ครอบคลุมทุกด้านรวมถึงติดตามการฟื้นฟูอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ด้วย ขณะที่ทั้ง 5 จังหวัดกลุ่มภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) คือ “พัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ สู่ผลิตภัณฑ์ และบริการมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่สังคมเป็นสุข” เตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งแรกของปี 2568 ในวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ด้วย
ด้าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ - มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท (ซีพี) ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนโยบายการพัฒนาทะเลสาบสงขลายั่งยืน CP Green Lagoon เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูระบบนิเวศของทะเลสาบสงขลา โดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน มีแผนการพัฒนา 3 แผนงานหลัก แผนที่ 1 การอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา โดยมุ่งเน้นปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และสร้างบ้านปลาเพื่อฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศของทะเลสาบ แผนที่ 2 คน ต้นแบบ สร้างอาชีพ ส่งเสริมการทำประมงพื้นบ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน มีการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะให้ชาวประมง เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต และ แผนที่ 3 การผนึกกำลังทุกภาคส่วน สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ทั้งนี้เครือซีพียังได้สนับสนุนนวัตกรรม "ธนาคารสัตว์น้ำระบบอัตโนมัติ" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยจะช่วยฟื้นฟูประชากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ปฏิบัติการครอบคลุมทั้ง 8 แห่ง 3 จังหวัด 15 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดสงขลา 8 อำเภอ (ระโนด, กระแสสินธุ์, สทิงพระ, สิงหนคร, เมืองสงขลา, ควนเนียง, บางกล่ำ และ หาดใหญ่) จังหวัดพัทลุง 5 อำเภอ (ควนขนุน, เมืองพัทลุง, เขาชัยสน, บางแก้ว และ ปากพะยูน) จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 อำเภอ (ชะอวด และ หัวไทร) รอบพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ทั้งนี้ผลการดำเนินงานภาพรวมที่ผ่านมาได้สร้างบ้านปลา (ซั้ง) จำนวน 500 หลัง ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำสะสม 126,935,000 ตัว นอกจากนั้นยังดำเนินการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร พร้อมสร้างหลักสูตรไทยลากูน (Thai Lagoon) เพื่อปลุกจิตสำนึกเด็กและเยาวชนในชุมชนรอบลุ่มน้ำทะเลสาบให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยผนึกกำลังร่วมกับเขตพื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบสงขลา 20 เขตอนุรักษ์
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS