CU - CP ผนึกกำลัง แก้วิกฤต PM 2.5 ที่น่าน – แจกหน้ากาก ‘POR-DEE’ พร้อมหนุนเกษตรกรสู่การทำเกษตรยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ฯ คณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ คณบดี สำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ และผู้บริหาร คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นำโดย ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนองค์กร และการพัฒนากลยุทธ์ พร้อมด้วย นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ และ นายภูมิชัย ตรัยดลานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี โซเชียลอิมแพคท์ จำกัด ได้จับมือกันลงพื้นที่จังหวัดน่าน มอบหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 'POR-DEE' ให้บุคลากร นิสิต นักศึกษา ของจุฬาฯ จ.น่าน และประชาชนในพื้นที่ หลังพบว่า น่านเป็นหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานในพื้นที่พัฒนาของทั้งสองหน่วยงาน เริ่มจาก โครงการสบขุ่นโมเดล ที่ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาต้นแบบที่ซีพีดำเนินการมากว่า 5 ปี เพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนข้าวโพดที่ต้องใช้วิธีการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ จุฬาฯ นำซีพีศึกษาดูงานการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของสำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ น่าน ที่ อ.ภูเพียง จ.น่าน ซึ่งดำเนินการขึ้นมาเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรในจังหวัดน่าน พร้อมกันนี้ยังมีการจัดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อสานพลัง แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นละอองอย่างเป็นระบบ ซึ่งได้ต่อยอดความร่วมมือไปสู่การพัฒนาและบูรณาการภาคเกษตรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment