{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 ภาพรวมผลการดำเนินงานกำไรสุทธิ 5,547 ล้านบาท ปรับลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2567
นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า “ในไตรมาส 2/2567 กลุ่มไทยออยล์มีกำไรสุทธิ 5,547 ล้านบาท ปรับลดลงจากไตรมาสที่ 1 เล็กน้อย จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับน้ำมันดิบดูไบได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่ปรับเพิ่มขึ้นจากการเริ่มดำเนินการของโรงกลั่นในแถบแอฟริกา รวมถึงการส่งออกจากเอเชียไปยุโรปทำได้ยากขึ้น ด้านธุรกิจอะโรเมติกส์ปรับตัวดีขึ้นจากส่วนต่างราคาสารพาราไซลีนและสารเบนซีนกับน้ำมันเบนซิน 95 ปรับเพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมปลายน้ำสำหรับการผลิตขวดน้ำดื่ม และอุปทานที่ตึงตัวจากการปิดซ่อมบำรุงประจำปีของผู้ผลิตสารอะโรมาติกส์ในภูมิภาค นอกจากนี้ ธุรกิจผลิตสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาดปรับตัวดีขึ้นหลังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ซักล้างที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย สำหรับธุรกิจผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานปรับตัวลดลงจากส่วนต่างราคาของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและยางมะตอยกับน้ำมันเตาจากราคาน้ำมันเตาที่ปรับเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบในไตรมาส 2/2567 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 1/2567 จากความกังวลเรื่องอุปทานน้ำมันดิบตึงตัวจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่ยังมีความไม่แน่นอน ประกอบกับกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบโอเปกและพันธมิตร (OPEC+) ยังคงขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 3 ของปี 2567 ส่งผลให้กลุ่มไทยออยล์มีกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 1,395 ล้านบาท หรือ 1.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่มรวมผลกระทบจากสต๊อกน้ำมันอยู่ที่ 7.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในไตรมาส 2 ของปี 2567 ลดลง 3.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลจากไตรมาส 1 ของปี 2567”
นายบัณฑิตฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับภาพรวมธุรกิจโรงกลั่นในช่วงครึ่งหลังของปี มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากไตรมาสที่ 2 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ทั้งในช่วงฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ การเดินทางทางอากาศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความต้องการใช้น้ำมันเพื่อทำความร้อน ทั้งนี้ ค่าการกลั่นยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังที่แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 5 ปี
นอกจากนี้ ในช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. ตลาดยังคงจับตาสถานการณ์พายุเฮอริเคนในทะเลแอตแลนติกที่คาดว่าปีนี้จะมีจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งอุปสงค์และอุปทาน อย่างไรก็ตาม การเปิดดำเนินการของโรงกลั่นใหม่ในแอฟริกาจะส่งผลกดดันให้ค่าการกลั่นปรับเพิ่มขึ้นในระดับที่จำกัด ขณะที่ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก อันเนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีนที่ไม่ดีนัก อาจกดดันราคาน้ำมันดิบในครึ่งปีหลัง"
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS