{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA) เชื่อมั่นมาตรการสร้างบ้านลดหย่อนภาษี ‘ล้านละหมื่น’ ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน มูลค่า 1 ล้าน หักลดหย่อน 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท เริ่มมีผล 9 เม.ย.67 ถึง 31 ธ.ค. 68 ปลุกกำลังซื้อฟื้นตัว เพิ่มโอกาสผู้บริโภคเป็นเจ้าของบ้านง่ายขึ้น ดันภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 ขยายตัว หนุนจีพีดีประเทศไทยโต
นายโอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA : Home Builder Association) เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ 5 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ เป้าหมายเพื่อสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยของประชาชน และรองรับ Thailand Vision ในการยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก คาดมาตรการเหล่านี้ จะกระตุ้น GDP ปีนี้อีกราว 1.7-1.8% ส่งเสริมให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย โดยรายละเอียดมาตรการมีดังนี้
มาตรการ “สร้างบ้านลดหย่อนภาษี ล้านละหมื่น” เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้านตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เอกสารอากรแสตมป์ (อ.ส.5) ที่มีมูลค่าการก่อสร้างบ้าน 1 ล้านบาท สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2568 ที่ผ่านมติความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (9 เม.ย.67) ได้สร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญต่อภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านในไตรมาสที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ และนับเป็นครั้งแรกของธุรกิจรับสร้างบ้านได้รับมาตรการลดหย่อนภาษีปลูกสร้างบ้านบนที่ดินตนเอง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาฯ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ยังประกอบไปด้วย การปรับลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567 โดยลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01% นอกจากนี้ยังลดค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท ซึ่งมีผลสำหรับผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย โดยเริ่มใช้เกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึง 31 ธ.ค.67
โครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home วงเงินโครงการ 20,000 ล้านบาทโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่สนับสนุนสินเชื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี วงเงินต่อรายสูงสุด ไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยมีระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี ซึ่งผู้ซื้อบ้านสามารถยื่นคำขอกู้กับ ธอส. ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ธ.ค.68 ยังมีโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life วงเงินโครงการ 10,000 ล้านบาท โดยสนับสนุนสินเชื่อให้ประชาชน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 2.98% ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งยื่นคำขอกู้กับ ธอส. ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
รวมทั้งมาตรการส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (โครงการบ้าน BOI) โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ในวงเงิน ไม่เกิน 100% ของเงินลงทุน สำหรับการพัฒนาอาคารชุดที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 24 ตารางเมตร และบ้านเดี่ยวหรือบ้านแถว พื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า 70 ตารางเมตร ราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ทั้งนี้ต้องมีที่อยู่อาศัยตามเงื่อนไขที่กำหนดไม่น้อยกว่า 80% โดยยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2568
“ตลาดบ้านสร้างเอง มีมูลค่ารวมประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ กำลังซื้อจำนวนไม่น้อยชะลอการตัดสินใจออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ การที่รัฐบาลผลักดันมาตรการสร้างบ้านลดหย่อนภาษี “ล้านละหมื่น” ลดสูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นตัวเร่งสำคัญที่ส่งผลให้ภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านไตรมาส 2 ของปีนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง และมียอดขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ มาตรการดังกล่าวยังส่งผลดีไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น วัสดุก่อสร้าง การจ้างงาน ก็จะได้รับอานิสงค์จากมาตรการดังกล่าวในครั้งนี้ด้วย
พร้อมกันนี้ เป็นการจูงใจให้ผู้รับสร้างบ้านที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล ทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และเข้าสู่ระบบภาษี ส่งผลให้รัฐได้ vat 7% และภาษีจากเงินได้นิติบุคคล ซึ่งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม อย่างไรก็ดี การบังคับใช้มาตรการจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น หากในอนาคตมีการขยายกรอบเวลาออกไปให้นานขึ้น เหมือนการลดหย่อนภาษีได้เงินบุคคลธรรมดาจากการซื้อประกันชีวิต ก็จะส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการสร้างบ้านเอง รวมถึงส่งเสริมธุรกิจรับสร้างบ้านและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS