{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นสัญญาณเตือนที่บอกว่า นี่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ที่ผ่านมาการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) ครั้งที่ 28 เน้นย้ำถึงเป้าหมายการรักษาระดับไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และตระหนักว่าจะต้องลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 43% ภายในปี 2030 และ 60% ภายในปี 2035
ทั้งนี้เป้าหมายของประเทศไทยที่กำหนดว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% ภายในปี 2030 แม้ว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่หลายๆ องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีความสำคัญต่อภาคการก่อสร้าง และไม่อาจมองข้ามผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ จึงเป็นภารกิจที่ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา พร้อมเดินหน้ากระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero
งาน Inclusive Green Growth Days Empowered by SCG : เติบโตและยั่งยืนไปด้วยกัน จัดขึ้น ณ Hall 1 อาคารอเนกประสงค์ชั้น 10 เอสซีจี สำนักงานใหญ่ บางซื่อ โดย Cement and Green Solution Business ภายใต้เอสซีจี จัดขึ้นเพื่อมอบโล่เกียรติคุณให้กับ กลุ่ม Developer ชั้นนำของเมืองไทย เป็นการขอบคุณที่ร่วมกันสร้างอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว ด้วยการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกในกลุ่มซีเมนต์ คอนกรีต และกรีนโซลูชัน ในอาคารระดับ Masterpiece ของไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยกับการประกาศจุดยืนในการร่วมกัน ระหว่างบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำกับเอสซีจีเพื่อเดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) และสร้างสังคมสีเขียวแบบยั่งยืน
นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน เปิดเผยว่า เอสซีจี โดย Cement and Green Solution Business (CGS) ยกระดับอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยอย่างยั่งยืน มุ่งมั่นสู่ Net Zero ในปี 2050 ผ่านการพัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชัน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินงานตามแผนงานหลัก 4 รูปแบบ ได้แก่
Green Product พัฒนาสินค้า Low Carbon Cement นวัตกรรมปูนซีเมนต์รักษ์โลก ที่มีการนำเชื้อเพลิงชีวมวล และลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาเป็นเชื้อเพลิงและพลังงานทดแทน ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของเอสซีจีที่จะเกิดขึ้นในอีก 2 ปี คือพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นที่ 3 โดยจะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 50%
Green Process ปรับปรุงขั้นตอนการผลิต โดยในปี 2566 เราสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน (Alternative Fuel) เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลในการผลิตปูนซีเมนต์ในอนาคต เพิ่มขึ้นมา 40% แต่ปัจจุบันขยับขึ้นมาเป็น 50% นับเป็น The Best Record
Green Construction พัฒนาแพลต์ฟอร์มการจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การนำเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) มาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างผ่านกระบวนการออกแบบ และก่อสร้างอาคารตั้งแต่เริ่มต้น รวมไปถึงแพลตฟอร์ม KIT CARBON ซึ่งใช้งานโดยการเชื่อมข้อมูลจาก BIM เพื่อนำมาคำนวณปริมาณคาร์บอนจากการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม
Green Society ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว หนึ่งในนั้นคือโครงการ Saraburi Sandbox ซึ่งจังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตปูนซีเมนต์เยอะที่สุด จึงมีความเหมาะสมที่จะริเริ่ม โดยดูในเรื่องของกลไกจากทุกภาคส่วนให้เป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ
นอกจาก เอสซีจี ที่มีแนวคิดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังมีพันธมิตรร่วมกันขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไปในทิศทางสู่สังคม “Low Carbon Construction” โดย 12 Developers ได้แก่ บริษัท โชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด, บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน), บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน), บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ เมเนจเมนท์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท รีเจ้นท์ กรีน เพาเวอร์ จำกัด, บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน), บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 4 Main Contractors ได้แก่ บริษัท นันทวัน จำกัด, บริษัท สี่พระยา จำกัด, บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
โดยมีเป้าหมายมุ่งสู่ Net Zero ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ อาทิ ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรคาร์บอนต่ำ ปูนซีเมนต์มาตรฐานใหม่มีความแข็งแรง ทนทาน รับกำลังอัดได้ดีกว่าหรือเทียบเท่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป ถือเป็นมาตรฐานปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกรายแรกของไทย ที่ทดแทนการใช้ถ่านหิน ได้เท่ากับ 18% ของความร้อน และมีการนำลมร้อนที่เกิดจากการผลิตนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ลดการใช้พลังงานถึง 38% การผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก 1 ตัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 0.05 ตัน CO2, และยังได้รับการรับรอง ฉลาก EPD (Environment Product Declaration) ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้งาน ว่าได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง และใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง SCG ได้เป็นรายแรกของไทย ในการส่งออกปูนซีเมนต์ไปสู่อเมริกา, คอนกรีตคาร์บอนต่ำ ซีแพค 2 สูตร ได้แก่ สูตรรักษ์โลก มีส่วนผสมของเถ้าลอยถ่านหินทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ลงได้อย่างน้อย 17 kg/m3 เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 17 ต้น สูตรไฮบริด ที่ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (Hybrid Cement) ตาม มอก.2549 ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ลงได้อย่างน้อย 3.9 kg./m3 เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 4 ต้น, เสือ Low Carbon Mixed Cement and Mortar (ปูนเสือ ซีเมนต์ผสม และมอร์ตาร์ คาร์บอนต่ำ) ‘ปูนตราเสือ’ ได้รับการรับรองให้แสดงสัญลักษณ์ SCG Green Choice ที่เป็นฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานของเอสซีจี ที่จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าสินค้านั้นให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และสัญลักษณ์ Green Industry จากกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 รวมถึงยังได้รับการรับรองให้แสดงฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint label) และฉลากลดคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction Label) โดยได้พัฒนาและปรับปรุงทั้งกระบวนการผลิตและการใช้วัตถุดิบที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมี Kit Carbon แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี Digital & BIM เข้ามาช่วยคำนวน Embodied Carbon ของโครงการ ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ต่อการออกแบบกระบวนการก่อสร้าง และการเลือกใช้วัสดุ KITCARBON เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, CPAC 3D Printing Solution นวัตกรรมก่อสร้างรูปแบบใหม่ สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งกลุ่มก่อสร้าง (Construction) และงานตกแต่ง (Decoration) ด้วยการขึ้นรูปโครงสร้างและตัวอาคารในแบบที่ต้องการ ลดการใช้แรงงาน และเศษวัสดุในไซต์งานก่อสร้าง รวมถึงลดระยะเวลาก่อสร้างให้น้อยลงถึง 6 เท่า เพราะประมาณ 90% ใช้เวลากับการผลิตที่โรงงาน และนำมาประกอบหน้างานได้อย่างรวดเร็ว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS