{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และคณะ เข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ซึ่งรองรับและเชื่อมต่อการขนส่งสินค้ากับโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีผู้บริหารกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่าย รูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม ที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพประตูการค้าบริเวณด่านพรมแดนเชียงของ และการขนส่งทางถนนบนเส้นทาง R3A ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการค้าการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และภูมิภาคอาเซียน รองรับการเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยภายในโครงการดังกล่าวจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ที่ครบครัน อาทิ ชานชาลาขนถ่ายสินค้า (CFS) รองรับกิจกรรมรวบรวมและบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ และคลังสินค้า รวมถึงการให้บริการอุปกรณ์และกระแสไฟฟ้าสำหรับตู้สินค้าห้องเย็น รองรับการขนส่งสินค้า Cold Chain โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมของประเทศไทย ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและมีการบูรณาการเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบราง โดย รฟท. จะมีการก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ เข้ามาภายในพื้นที่ของศูนย์ฯ โดยที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบก และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของทั้งสองหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) รวมถึงโครงข่ายระบบราง ให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างกัน ทั้งในเชิงกายภาพและในเชิงการบริหารจัดการได้อย่างไร้รอยต่อ ช่วยสนับสนุนระบบรางให้เป็นระบบการขนส่งหลัก นำไปสู่การลดต้นทุนด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อไปว่า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ยังมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) รองรับการดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว และสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Common Control Area) รองรับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ไทย และ สปป.ลาว ในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เปิดประตูค้าขายและเปิดโอกาสของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนเปิดให้บริการโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ อย่างเต็มรูปแบบในปี 2568 นี้ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการในระยะที่ 2 และอยู่ระหว่างกระบวนการคัดเลือกเอกชน (PPP) ตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และด้วยศักยภาพของโครงการ จากตำแหน่งที่ตั้งในจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาค และการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนจังหวัดเชียงราย ให้เป็น Logistic Hub ที่สำคัญช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประชาชน ตลอดจนช่วยลดต้นทุนด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งของภูมิภาคต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS