คมนาคม เดินหน้าแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ผนึกทุกภาคส่วนลด "การเสียชีวิต-พิการ" ในไทย

นายมนตรี เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นภารกิจที่สำคัญ ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน การมุ่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนในปัจจุบันเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรและส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนให้กับพี่น้องประชาชนทุกคน

กระทรวงคมนาคม ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารโลก ได้ริเริ่มดำเนินการศึกษาอุบัติเหตุทางถนน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพของประชาชน รวมถึงลดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศนำมาสู่การจัดเตรียมแผนแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนน โดยได้ระบุถึงปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการดำเนินมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดอุบัติเหตุทางถนนและนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการประสานความร่วมมือระหว่าง กรมทางหลวง บริษัท Volvo Car Corporation ประเทศสวีเดน และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้มูลนิธิความร่วมมือ เพื่อความปลอดภัยทางถนน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ให้สำเร็จโดยเร็ว

ศ.ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (TARC) กล่าวว่า ภารกิจหลักของ TARC คือ 1.สืบค้น วิเคราะห์ ประเมิน ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ของกลไกการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง 2.จัดหาวิธีการที่เป็นรูปธรรม พร้อมแนวทางการแก้ไขที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับแบบฉบับของสังคมไทยได้ เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน 3.สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย การประสานงาน และเสริมสร้างการศึกษาวิจัยด้านอุบัติเหตุ ให้มีความยั่งยืน 4.เพิ่มความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยทางถนน ผ่านกระบวนการเรียนรู้และการฝึกอบรม 5.อำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดผลการวิจัยไปสู่กระบวนการปฏิบัติ

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้ขับเคลื่อนหลากหลายโครงการจนสำเร็จ เป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เช่น โครงการสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเชิงลึก ปี พ.ศ. 2559 – 2566 โครงการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนในทางพิเศษกาญจนาภิเษกและทางพิเศษฉลองรัช (ช่วงรามอินทรา-ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบทความวิจัยที่ถูกนำไปตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติอีกด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment