{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการบังคับใช้กฎกระทรวงว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (BEC) ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ตามแผนอนุรักษ์พลังงานของประเทศ (EEP 2018) พ.ศ. 2558 – 2580 ของกระทรวงพลังงาน ได้กำหนดกลยุทธ์ภาคบังคับ โดยกำหนดมาตรการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านพลังงานสำหรับการก่อสร้างอาคารใหม่หรืออาคารดัดแปลง เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือ Building Energy Code (BEC) ซึ่งได้ออกกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 โดยกำหนดให้อาคารที่จะออกแบบก่อสร้างใหม่ที่มีขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ต้องออกแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ
พพ. ได้ดำเนินการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ สามารถพัฒนาระบบงานตรวจประเมินแบบอาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้รองรับการบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร สนับสนุนการตรวจประเมินรับรองแบบอาคารภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนด โดยมีผลประหยัดสะสม 147.10 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ดำเนินการเข้าตรวจวัดการใช้พลังงานและเก็บข้อมูลแล้ว จำนวน 10 อาคาร และยังเดินหน้าสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถมอบฉลากรับรองมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และกระตุ้นให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ประกอบการ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการออกแบบอาคารให้มีประสิทธิภาพ โดยมีแบบอาคารที่ได้รับฉลากรับรองออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานในระดับดีเด่น ดีมาก และดี จำนวนรวมทั้งสิ้น 184 แบบอาคาร โดยปีนี้ มีแบบอาคารที่ได้รับฉลากในระดับดีเด่น 4 แบบอาคาร ระดับดีมาก จำนวน 9 แบบอาคาร และฉลากระดับดี 9 แบบอาคาร รวมทั้งหมด 22 อาคาร
“พพ. ได้กำหนดเป้าหมายการประหยัดพลังงานสำหรับอาคารใหม่หรือดัดแปลง ให้สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน โดยมีเป้าหมายผลประหยัดสะสม จำนวน 1,574 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) ในปี 2580 และส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดำเนินการที่รองรับ และพัฒนากระบวนการติดตามผลการบังคับใช้ให้สอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เชื่อมั่นว่า หากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทุก ๆ ภาคส่วน ให้ความร่วมมือร่วมใจในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ขยายตัวไปในวงกว้างอย่างทั่วถึง จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานในภาคอาคารและบรรลุเป้าหมายตามแผนอนุรักษ์พลังงานของกระทรวงพลังงานได้อย่างแน่นอน” นายวัฒนพงษ์ กล่าว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS