TRIS ปรับอันดับเรทติ้งองค์กร MICRO ที่ระดับ BB แนวโน้ม “Stable”

ทริสเรทติ้ง ประกาศอันดับเครดิตองค์กรของบริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MICRO มาอยู่ที่ระดับ “BB” แนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” จากเดิมที่ระดับ “BB+” แนวโน้ม “Negative” หรือ “ลบ”

นายวิศาลท์ บูรณสันติกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ MICRO เปิดเผยว่า ทริสเรทติ้ง ได้ประกาศอันดับเครดิตองค์กรของ MICRO มาอยู่ที่ระดับ “BB” แนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” จากเดิมที่ระดับ “BB+” แนวโน้ม “Negative” หรือ “ลบ” โดยทริสเรทติ้ง ระบุว่าการปรับอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพสินทรัพย์และผลการดำเนินงานที่อ่อนแอลงจากการตั้งสำรอง ขาดทุนทรัพย์สินรอการขาย และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แต่บริษัทยังมีฐานทุนที่แข็งแกร่ง แหล่งเงินทุนและสภาพคล่องที่เพียงพอในระดับปานกลาง

โดยหลังจากการขยายสินเชื่อที่แข็งแกร่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2564-2565) MICRO ได้ชะลอการขยายสินเชื่อและหยุดการขยายสาขา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ ซึ่งคาดว่า MICRO จะยังใช้นโยบายการขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวังและให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์เป็นหลัก ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการสร้างรายได้ที่ลดลง

คุณภาพสินทรัพย์ของ MICRO อ่อนแอลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การส่งออกที่ซบเซา และการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลที่ล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียต่อความต้องการใช้รถบรรทุก จำนวน NPL ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งกดดันต่อราคารถบรรทุกมือสองที่มีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณเชิงบวกจาก NPL ที่ลดลงของสินเชื่อเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 และอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทได้ดำเนินการมาตรการต่างๆ เช่น นโยบายการพิจารณาสินเชื่ออย่างเข้มงวด ซึ่งส่งผลต่อยอดสินเชื่อที่ลดลง การเร่งการติดตามทวงถามหนี้ตั้งแต่กลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าคุณภาพหนี้จะค่อยๆ ปรับปรุงดีขึ้นในระยะปานกลาง แต่คุณภาพสินทรัพย์ที่เสื่อมลงอย่างต่อเนื่องอาจสร้างแรงกดดันต่ออันดับเครดิตของบริษัทได้

ด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องอยู่ในระดับปานกลาง จากข้อมูลเงินสดในมือ วงเงินสินเชื่อที่มีอยู่เกือบ 1,000 ล้านบาท กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากการชำระคืนเงินกู้ทุกเดือน ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเพียงพอต่อความต้องการสภาพคล่องในระยะสั้นถึงระยะกลาง นอกจากนี้บริษัทยังมีความยืดหยุ่นทางการเงิน เนื่องจากสามารถเข้าถึงตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ได้ตามความต้องการด้านเงินทุน และมีหนี้ที่มีหลักประกันต่อหนี้ทั้งหมดในระดับต่ำที่ 10% อย่างไรก็ตามความยืดหยุ่นทางการเงินอาจถูกจำกัดหากบริษัทดำเนินกลยุทธ์การเติบโตเชิงรุก

โดยทริสเรทติ้ง ให้แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหวังว่า MICRO จะสามารถรักษาตำแหน่งทางการตลาด ระดับเงินทุนและภาระหนี้ทางการเงิน ขณะเดียวกันก็ค่อยๆ ปรับปรุงผลการดำเนินงานและคุณภาพสินทรัพย์ให้ดีขึ้น

ทั้งนี้ MICRO มีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระไถ่ถอน ในเดือนเมษายน 2567 จำนวน 321 ล้านบาท และในเดือนตุลาคม 2567 จำนวน 762 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีแผนในการไถ่ถอนหุ้นกู้ไว้แล้ว

นายวิศาลท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า MICRO มีความแข็งแกร่งของสภาพคล่องทางการเงิน โดยมีเงินสดในมือ และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่เกือบ 1,000 ล้านบาท กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากการชำระคืนเงินกู้ทุกเดือน ซึ่งทั้งหมดนี้น่าจะเพียงพอต่อความต้องการสภาพคล่องในระยะสั้นถึงระยะกลาง นอกจากนี้บริษัทยังมีความยืดหยุ่นทางการเงิน เนื่องจากสามารถเข้าถึงตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ได้ตามความต้องการด้านเงินทุน ซึ่งเป็นการตอกย้ำามเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจมีความผันผวนและไม่มีความแน่นอน และจากกลยุทธ์ของบริษัทที่เน้นคัดคุณภาพลูกหนี้ใหม่อย่างเข้มงวด รักษาฐานพอร์ตลูกค้าดีของบริษัท ส่งผลให้บริษัทมีสภาพคล่องคงเหลือค่อนข้างมาก รวมทั้งบริษัทยังมีวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้กับสถาบันการเงินอีกจำนวนหนึ่ง โดยแผนธุรกิจของ MICRO ในปี 2567 หลักๆยังเน้นการดูแลสภาพคล่องและรักษาพอร์ตลูกหนี้ที่ดีไว้


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment