เมืองไทยประกันชีวิต พร้อมด้วยมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ผนึกกำลังกรมกิจการผู้สูงอายุจัดการอบรมหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ Care Giver

นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เผยว่า บริษัทได้ร่วมมือกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยจัดโครงการสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการจัดฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ และป้องกันปัญหาการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ ส่งผลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในสังคมอยู่ในขณะนี้

สำหรับการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง เป็นมาตรฐานหลักสูตรกลางของประเทศไทยในการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุสำหรับสมาชิกในครอบครัว อาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป หรือผู้ที่สนใจ ซึ่งถูกกำหนดโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยหลักสูตรดังกล่าวมีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทำหน้าที่ในการกำกับดูแลหลักสูตร โดยเมื่ออบรมผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในหลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน

การจัดอบรมฯ ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับเกียรติจาก นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น จำนวน 18 ชั่วโมง รุ่นที่ 1 ซึ่งกรมกิจการผู้สูงอายุ ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทุกกลุ่มเป้าหมายในสังคม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ช่วยส่งเสริมการจัดอบรมสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับผู้สูงอายุ

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ช่วยสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นมาตรฐานทางวิชาชีพ

ทำให้เกิดบุคลากรในสาขาอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุ ที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสาขาอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและให้เกิดรายได้ที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับบุคลากรเหล่านี้ รวมทั้งส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่มีถูกต้องและเหมาะสม โดยจะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีหลักประกันคุณภาพและการได้รับบริการที่เป็นมาตรฐาน


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment