พานาโซนิค จับมือ สถาปัตย์-วิศวะจุฬาฯ ร่วมวิจัยเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงาน

พานาโซนิค ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน ผุดโปรเจคความร่วมมือด้านการวิจัย (Research collaboration project) ค้นหา “สภาวะน่าสบาย” ของคนไทยที่แท้จริง ชี้ภาวะน่าสบายของที่อยู่อาศัยในอนาคตต้องปราศจากความเครียด (Stress-free) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Carbon-free) และลดการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ปั้นโมดูลาร์จำลองเพื่อการศึกษาภาวะน่าสบายในทุกมิติ พร้อมเตรียมขยายผลวิจัยในโครงการที่อยู่อาศัยจริงโดยจับมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในอนาคต

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า พานาโซนิค จึงได้มุ่งมั่นศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการสร้างภาวะแวดล้อมภายในบ้านที่อยู่สบายสำหรับผู้บริโภคที่แตกต่างกันไปทั่วโลก โดยเล็งเห็นว่า “สภาพแวดล้อมภายในบ้านที่อยู่สบาย” นั้น ควรมีองค์ประกอบสำคัญทั้งภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) ปราศจากความเครียด (Stress-free) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Carbon-free) และลดการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) จึงมีแนวคิดในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย (Research collaboration project) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงานในประเทศไทย (Sustainable and Energy-Efficient Housing Technologies in Thailand) ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยคาดหวังว่าผลของการวิจัยจะทำให้สามารถค้นพบ “สภาวะน่าสบายภายในบ้าน” สำหรับคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยในอนาคตที่เหมาะกับบริบทของประเทศไทย”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ความร่วมมือในการจัดทำการวิจัยกับพานาโซนิคในประเทศไทยครั้งนี้ เราได้นำความเชี่ยวชาญของจุฬาฯ ทั้งจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มาผนวกกับความรู้ความชำนาญทางเทคโนโลยีของพานาโซนิค ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการวิจัยไปข้างหน้าและมีส่วนช่วยในการพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยในประเทศไทยในอนาคตได้

ความร่วมมือดังกล่าวถูกพัฒนาเป็นโมเดลที่อยู่อาศัยแบบจำลอง โดยการนำเทคโนโลยี BIM หรือ Building Information Modelling เข้ามาช่วยในการออกแบบและก่อสร้างบ้านโมดูลาร์ในชื่อ ZEN Model ขนาดพื้นที่ 36 ตารางเมตร ภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจำลองบรรยากาศที่อยู่อาศัยในสภาวะน่าสบาย และทำการเก็บข้อมูลจากการให้กลุ่มตัวอย่างได้เข้ามาทดลองใช้ชีวิตในพื้นที่แห่งนี้ โดยขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 30%


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment