{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบถนนเลี่ยงเมือง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพื่อบรรเทาการจราจรบนถนนสายหลัก รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่ง/ท่องเที่ยวบริเวณชายแดนในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด
อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซียและด่านชายแดนที่สำคัญถึง 2 ด่าน คือ ด่านชายแดนสะเดา และด่านชายแดนปาดังเบซาร์ ซึ่งมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจในการสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศทั้งด้านการท่องเที่ยว การค้าชายแดน การนำเข้า – ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีถนนเพชรเกษม (ทล.4) เป็นเส้นทางสายหลักที่ใช้ในการสัญจรและขนส่งสินค้าไปยังชายแดน ทำให้มีปริมาณการจราจรที่หนาแน่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนสายหลัก รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ในอนาคต ทช. จึงได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบถนนเลี่ยงเมือง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นการศึกษาคัดเลือกแนวสายทาง รูปแบบถนน/ทางแยกต่างระดับที่เหมาะสม และศึกษาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของโครงการ ซึ่งจะคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนกันยายน 2566 ต่อไป
ทั้งนี้ ทช. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้แทนกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ ความเป็นมา ลักษณะโครงการ ขั้นตอนการดำเนินงาน ขอบเขตการศึกษา พร้อมทั้งได้ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่เข้าร่วมประชุม เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด ซึ่งมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 4 ครั้ง โดยเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 3 ไปแล้ว ณ อาคารสร้างสรรค์สุขภาวะเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยในการดำเนินโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทช. จะจัดการประชุมรับฟังความเห็นของประชาชน ครั้งที่ 4 ในเดือนกันยายน 2566 ณ บริเวณอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งจะแจ้งวันเวลา และสถานที่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบอีกครั้งต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS