ทีเอ็มบีธนชาต อัปเดตมุมมองเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ให้ลูกค้าธุรกิจภาคตะวันออก

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดสัมมนาเสริมความแกร่งให้กลุ่มลูกค้าธุรกิจในภาคตะวันออก รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก โดยอัปเดตสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อช่วยให้ลูกค้าธุรกิจได้เตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาสในอนาคต

นางพาจนา รุจิเรข รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี พร้อมทีมผู้บริหารและวิทยากรจากทางธนาคาร ได้จัดงานสัมมนา “Turning Global Challenges into New Opportunities” ให้แก่ลูกค้าธุรกิจหลายจังหวัดในภาคตะวันออก ทั้งชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งให้เกียรติมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้บริหารธนาคารได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองวิสัยทัศน์ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

ภายในงานสัมมนา ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ได้ชี้ให้เห็นถึง ทิศทางของเศรษฐกิจไทยและแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของบริษัท ว่า เศรษฐกิจโลกเติบโตลดลงจากปีก่อน แต่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวดี คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะเติบโตขึ้น 3.6% จาก 2.6% ในปี 2565 ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ขณะที่ขนาดเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย คิดเป็นสัดส่วนกว่า 17% ของ GDP ประเทศ เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน แม้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยหนุนหลายประการ อาทิ หลายประเทศได้ผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าออกพรมแดน โดยเฉพาะการเปิดประเทศของจีนที่เร็วกว่าที่คาด การจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคในประเทศของไทยกำลังฟื้นจากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่มากขึ้น สะท้อนจากยอดขายรถที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาคตะวันออกอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีนโยบายการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบแบบครบวงจร แต่ยังมีสิ่งที่ต้องระวังในอนาคต ได้แก่ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากขึ้น และความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมถึงค่าครองชีพและภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ธนาคารยังแนะมุมมองเรื่อง ความท้าทายของโลกการค้าระหว่างประเทศสำหรับเจ้าของธุรกิจไทย ว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อธุรกิจ ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก แนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจนำเข้าและส่งออกของไทยอย่างมาก ซึ่งเจ้าของธุรกิจควรใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การเลือกปิดความเสี่ยงด้วยการใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency) ในการซื้อขายกันมากขึ้น เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีความผันผวนสูง หากตั้งรับไม่ทัน ย่อมมีผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นได้ และการใช้บัญชีบริหารหลายสกุลเงิน (ttb multi-currency account) ที่ช่วยรองรับได้มากถึง 11 สกุลเงินหลักภายในบัญชีเดียว สามารถทำการซื้อ ขาย รับ จ่ายได้อย่างสะดวกทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริหารจัดการด้านการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศไว้ได้ล่วงหน้า รวมถึงสามารถโอนเงินสกุลต่างประเทศออกได้ทันที


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment