ไทยเตรียมพร้อมจัดงาน GRC 2022 มุ่งลดความซ้ำซ้อน เน้นการนำภาษีมาใช้เพื่อพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม

รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. เปิดเผยว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สกสว.ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมประจำปี Global Research Council หรือ GRC ครั้งที่ 10 ที่ประเทศปานามา และได้รับการเสนอชื่อและคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุม 2022 Global Research Council Asia-Pacific Regional Meeting ซึ่งโดยแนวปฏิบัติ จะมีการเลือกอีกหนึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพ สกสว. จึงขอเชิญประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีการทำงานร่วมกันมายาวนาน โดยหน่วยงานของญี่ปุ่นที่ร่วมเป็นเจ้าภาพ คือ Japan Science and Technology Agency (JST) และ Japan Society for the Promotion of Science (JSPS) ในส่วนของประเทศไทย สกสว. ได้เชิญ 2 หน่วยบริหารและจัดการทุนของประเทศเป็นร่วมเป็นเจ้าภาพด้วย คือ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

ในปี 2566 ที่จะถึงนี้ ประเด็นสำคัญของ GRC ที่จะนำหารือ มี 2 เรื่องหลัก คือ หนึ่ง บทบาทของหน่วยงานให้ทุน ว่าจะช่วยจัดการปัญหาของ Climate Change ซึ่งพบว่ามีความรุนแรงทั่วโลก ตัวอย่างเช่นในปัจจุบัน ประเทศไทยก็พบปัญหาน้ำท่วมอยู่หลายพื้นที่ และสอง คือ นวัตกรรมของการให้รางวัลแก่นักวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยแต่ละประเทศก็มีวิธีในการให้รางวัลหรือประกาศเกียรติคุณให้กับนักวิจัยที่สร้างผลงานที่มีกระทบสูงแตกต่างกันไป ก็จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาวิธีหรือแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน รศ.ดร.พงศ์พันธ์ กล่าวเสริม

การที่ สกสว. ได้เป็นเจ้าภาพหลักในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อระบบ ววน.ของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานด้าน ววน. ของไทยจะได้เรียนรู้จากประเทศอื่น ๆ ในมุมใดที่ไทยมีความโดดเด่นมากกว่า ก็สามารถแบ่งปันประสบการณ์ให้กับประเทศสมาชิกอื่นได้ วิธีการแบบนี้ทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาที่ประสบร่วมกันในระดับโลกได้ดีขึ้น เช่น ปัญหาคุณภาพของอากาศ ปัญหาเชิงสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ร่วมกัน เป็นต้น


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment