สบน. 20 ปี สู้ เสริม สร้าง เพื่อชาติ

สบน. สรุปผลงานครบรอบ 20 ปี ย้ำสู้วิกฤต ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจเพื่อประเทศไทย

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงผลการดำเนินงานสำคัญของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในโอกาส สบน. ครบรอบ 20 ปีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมาดังนี้

สู้วิกฤติ

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ก่อตั้งขึ้นในสภาวการณ์อันสืบเนื่องจากวิกฤติการเงินเอเชีย พ.ศ. 2540 (วิกฤติต้มยำกุ้ง)นับตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงปัจจุบัน สบน. ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลและตัดสินใจเกี่ยวกับการเงินของประเทศ (Chief Financial Officer: CFO) เดินทางผ่านวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญของประเทศมาถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่ และล่าสุด คือ วิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วิกฤติล่าสุดVS ความต้องการกู้เงิน

การระบาดของโรคอุบัติใหม่ (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: COVID-19)ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก รัฐบาลเกือบทุกประเทศทั่วโลกประกาศมาตรการล็อคดาวน์ (Lock Down) ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก เศรษฐกิจไทยหดตัวและถดถอยอย่างรุนแรง

สบน. มีบทบาทสำคัญในการระดมทุนจำนวนมากในช่วงที่ประเทศประสบวิกฤติการระบาดของ COVID-19เพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้กลับมาสู่สภาวะปกติจึงทำให้ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาความต้องการกู้เงิน (Funding Need) รวมของรัฐบาลได้แก่การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการกู้เงินปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการกู้เงินตามปกติเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องกู้เงินผ่านพระราชกำหนด COVID-19 อีกจำนวน 2 ฉบับ วงเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วยจึงเห็นได้ว่าตัวเลขความต้องการกู้เงินของรัฐบาลสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดและมากกว่าในสถานการณ์ปกติถึง 2 เท่า ทั้งนี้ นอกจากรัฐบาลไทยแล้ว รัฐบาลของประเทศอื่น ๆอาทิ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย และมาเลเซียก็ได้ดำเนินนโยบายการคลังเพื่อต่อสู้กับวิกฤติดังกล่าวโดยใช้เงินกู้เป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญเช่นกัน

ระดมทุนได้อย่างครบถ้วน

จากเหตุการณ์และความจำเป็นที่ต้องกู้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าวข้างต้น สบน. จึงต้องวางแผนการบริหารหนี้สาธารณะอย่างรัดกุมและรอบคอบด้วยการจัดทำกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง (Medium Term Debt Management Strategy: MTDS) เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น 3 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมทั้งกระจายการกู้เงินด้วยเครื่องมือหลากหลายเพื่อให้รัฐบาลสามารถระดมทุนได้ครบตามความต้องการ ควบคู่กับการดูแลปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาล (Bond Supply)ให้มีเสถียรภาพและอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้การกู้เงินที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลแย่งชิงเม็ดเงินจากภาคเอกชน และสร้างความผันผวนในตลาดการเงินและส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ปรับตัวสูงขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งจะเป็นภาระต้นทุนแก่ผู้ลงทุนในอนาคต

ทั้งนี้ ในเวลาเดียวกัน สบน. ได้ติดตามสภาวะตลาดการเงินและสื่อสารกับผู้ร่วมตลาดอย่างเป็นประจำผ่านการประชุมMarket Dialogue เพื่อรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุนและนำมาปรับแผนการระดมทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดอย่างสม่ำเสมอ และประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมกันดูแลสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้และตลาดการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่งผลให้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา สบน. สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการระดมทุนได้ครบตามแผนความต้องการใช้เงินของรัฐบาล และดูแลให้ตลาดสามารถรองรับการระดมทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนได้เป็นอย่างดี

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วสบน. จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาและรองรับการเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤติอันเกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19ให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็วเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐพิจารณาสถานการณ์ความจำเป็นแล้ว ได้เห็นชอบการขยายกรอบเพดานจากเดิมร้อยละ 60ซึ่งเป็นกรอบที่กำหนดขึ้นในช่วงภาวะปกติเป็นร้อยละ70 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดอย่างเหมาะสมเพื่อให้รัฐบาลมีพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ที่สามารถรองรับกรณีการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อดำเนินนโยบายการคลังและแผนพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต

นอกจากนี้ สบน. ได้ปรับกลยุทธ์การระดมทุนโดยเน้นการใช้เครื่องมือการระดมทุนที่หลากหลาย(Diversification) เพิ่มเติมจากการออกพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นเครื่องมือหลัก ไปยังเครื่องมือระยะสั้นที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำในสัดส่วนที่ยังคงสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและด้านการปรับโครงสร้างหนี้ได้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนในตลาดที่ต้องการสินทรัพย์สภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ต้นทุนเฉลี่ยของหนี้รัฐบาลลดลงจากร้อยละ3.28ในปีงบประมาณ 2562เป็นร้อยละ 2.34 ในเดือนสิงหาคม 2565 นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงสภาพคล่องหรือทรัพยากรทางการเงิน (Crowding Out) กับธปท. และภาคเอกชนสบน. ได้กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ทางการต่างประเทศที่เป็นเงินกู้พิเศษเพื่อแก้ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในสัดส่วนที่ยังคงสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้รวมทั้งศึกษาเครื่องมือใหม่เพื่อรองรับความผันผวนในตลาดการเงินที่สูงขึ้นและปัจจัยที่ไม่คาดคิดในอนาคต อาทิการออกพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (1 – 3 ปี)เพื่อเพิ่มเครื่องมือการกู้เงินระยะสั้นที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่

โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 สบน. ได้กู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. COVID-19 ทั้งสองฉบับแล้วทั้งสิ้น 1.48 ล้านล้านบาท และเบิกจ่ายแล้วกว่า 1.38 ล้านล้านบาท


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment