ออมสินเปิดศึกนอนแบงก์กู้ชีพรายย่อย

ออมสินพร้อมลงสนามนอนแบงก์ ยื่นขอใบอนุญาต ธปท. ตั้งบริษัทลูกทำตลาด ชูสร้างโอกาสให้คนฐานราก เข้าถึงเงินทุนได้ง่ายในอัตราดกเบี้ยที่ถูกลงต่ำกว่าตลาดอย่างน้อย 5%

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินพร้อมเดินหน้าทำธุรกิจนอนแบงก์เต็มตัว ล่าสุดได้ยื่นขอใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อจัดตั้งบริษัทลูกทำธุรกิจ Non Bank หวังปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล (P-Loan) ให้กับประชาชนฐานรากที่มีรายได้น้อย และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้ หรือต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก คาดว่าหลังจาก ธปท. อนุมัติ ออมสินจะสามารถดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกพร้อมเปิดให้บริการได้อย่างเร็วที่สุดในช่วงไตรมาส 3 ปี 2566 หรือต้นไตรมาส 4 ปีเดียวกัน

โดยการเข้าไปทำธุรกิจนอนแบงก์ ออมสินวางแผนจะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาดเริ่มต้น 5% ซึ่งจะทำอัตราดอกเบี้ยในระบบปรับตัวลดลง จะเป็นการช่วยลดภาระให้กับประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง แล้วยังเพิ่มช่องทางให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงมาก ทั้งยังช่วยลดปัญหาทางด้านสังคมที่เกิดจากการทวงหนี้ที่รุนแรงได้อีกทางหนึ่ง เบื้องต้นกำหนดวงเงินไว้คนละ 10,000 - 40,000 บาท

ส่วนการตั้งเป็นบริษัทย่อยนั้น เนื่องจากว่าจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารได้รวดเร็ว สามารถรองรับความเสี่ยงที่สูงได้ เพราะออมสินมีกฎระเบียบมาก มีข้อจำกัดเรื่องความเสี่ยง

ทั้งนี้การพิจารณาปล่อยสินเชื่อก็จะง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้เอกสารหรือหลักฐานเหมือนกับการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ซึ่งออมสินจะนำเอาระบบการวิเคราะห์ข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า "Alternative Data" หรือ ข้อมูลทางเลือก มาใช้พิจารณาประกอบการให้สินเชื่อ อาทิเช่น ข้อมูลในการเดินบัญชีผ่านธนาคารออมสิน ข้อมูลการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ พฤติกรรมการซื้อขายออนไลน์ เพื่อประเมินความสามารถ (Ability) หรือความเต็มใจ (Willingness) ในการชำระหนี้แทนหลักฐานรายได้หรือหลักประกัน ซึ่ง Alternative Data จะช่วยให้คนฐานรากรวมถึง SME รายเล็ก สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้มากขึ้น ผ่านกระบวนการให้สินเชื่อที่สะดวก รวดเร็ว ภายใน 1 วันทำการ ก็สามารถปล่อยสินเชื่อให้ได้เลย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment