JP ปั้น MAWO ลุยตลาดอาหารเสริม ตั้งเป้าทั้งปีเพิ่มฐานOEMเ จาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ 10 ราย

โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) ตั้งเป้าปีนี้เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้าพอร์ต OEM 10 ราย ล่าสุดส่ง MAWO แจ้งเกิดตลาดอาหารเสริม นำเสนอ “มาโว่ มารีน คอลลาเจน” บุกตลาด รับเทรนด์สุขภาพมาแรง

นายพิษณุ แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการขายและการตลาด บริษัท โรงงานเภสัช อุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JP เปิดเผยว่า หลังจากที่ JP ได้ทำโครงการZ entrepreneur by JP’ ซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ซึ่งมีคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมโครงการ 7 ราย โดย MAWO เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ JP ให้การสนับสนุนจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นได้จริง จึงเป็นตัวอย่างของผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริมของตนเอง โดยที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่สามารถสร้างสินค้าที่ได้มาตรฐาน และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ซึ่งมองว่าการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ขึ้นมาแข่งขันในตลาดนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะปัจจุบันคนรุ่นใหม่จะเข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ โดยในโครงการนี้ JP จำกัดจำนวนผู้ประกอบการรายเล็กที่ต้องการเข้ามาร่วมโครงการปีละ 10 ราย เพื่อให้เป็นโครงการที่มีการดูแลอย่างใกล้ชิดและมีคุณภาพ

อย่างไรก็ดีนอกจากโครงการ ‘Z entrepreneur by JP’ ยังมีอีกหนึ่งโครงการคือ Economy sharing ที่ JP ได้ทำขึ้นในช่วงเกิดวิกฤต covid -19 ด้วยการทำให้ภาคธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับผลกระทบ จากกำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ภาคผู้ผลิตที่เป็นโรงงานขนาดเล็ก มีความเสี่ยงต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือปิดโดยไม่มีกำหนด เกิดการรวมกลุ่มใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยการเปิดบริการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับโรงงานขนาดเล็ก เพื่อให้โรงงานขนาดเล็กไม่ต้องปิดกิจการ สามารถรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้ตามปกติ แต่ไม่ต้องแบกรับต้นทุนด้วยการดำเนินการผลิตเอง เพราะหากคำสั่งซื้อมีปริมาณไม่มากพออาจจะไม่คุ้มทุนกับการผลิตเอง และเสี่ยงต่อการปิดกิจการในที่สุด

นางสาวณัฐณิชา ดอนสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาโว่ เฮลธ์ จำกัด (MAWO) กล่าวว่า ปัญหาของผู้ประกอบการรายเล็กคือ การมีต้นทุนจำกัดในการลงทุนเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานระดับสากล การเข้ามาร่วมโครงการกับ JP จึงทำให้ธุรกิจสามารถเป็นจริงได้ง่ายขึ้น โดยใช้เงินลงทุนไม่มาก อีกทั้งได้รับคำแนะนำ และผ่านการอบรมทั้งด้านงานขาย การเข้าถึงสื่อออนไลน์ การวิเคราะห์ธุรกิจ เป็นต้น

ส่วนแนวคิดการทำธุรกิจของ MAWO นั้น เกิดจากการศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี ทำให้เห็นทิศทางการเติบโตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในยุคของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เป็นอีกปัจจัยสนับสนุนหนึ่งที่ทำให้สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นที่ต้องการมากขึ้น ดังนั้น MAWO จึงมองหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่ง “คอลลาเจน” เป็นสินค้าที่ตอบโจทย์ เพราะไม่ได้ช่วยแค่เรื่องผิวพรรณ แต่ยังช่วยเรื่องกระดูกและข้อ และเป็นสินค้าที่มีทิศทางการเติบโตของตลาดเพิ่มขึ้นทุกปี จากที่ได้ทำการศึกษาพบว่าในปี 2564 ตลาดคอลลาเจนเปปไทด์ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 624.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะเพิ่มเป็น 932.7 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 5.91% ในแต่ละปี หรือคิดเป็น ประมาณ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากสัดส่วนโครงสร้างประชากรทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ในขณะที่ประเทศไทยตลาดวิตามินและอาหารเสริมปี 2563 มีมูลค่า 25,269 ล้านบาทที่เติบตัวเลขเฉลี่ย 8% โดยตลาดที่กินส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ตลาดคอลลาเจน

สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายของ MAWO นั้น จะเน้น ช่องทางออนไลน์ และโซเชียลคอมเมิร์ซ เป็นหลัก และมีการจำหน่ายผ่านตัวแทนบางส่วน โดยแบ่งสัดส่วนเป็น 70:30 โดยในปีแรกตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 10 ล้านบาท และตั้งเป้าจะเติบโตเป็น 20 ล้านบาทในปีต่อไป เนื่องจากจะมีสินค้าหลากหลายประเภทมากขึ้น โดยสินค้าทุกประเภทจะยังคงอยู่ในแนวคิด “สินค้าคุณภาพระดับพรีเมียม แต่ราคาเข้าถึงง่าย”


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment