{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมศุลกากร เดินหน้าปรับปรุงกระบวนงานการนำเข้า - ส่งออก และนำผ่านสินค้าละเมิดทรัพย์สิน ทางปัญญา เพื่อรองรับ (ร่าง) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565
นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้ให้ความสำคัญและเข้มงวดเกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก รวมถึงนำผ่านสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินจากการใช้สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ รวมถึงเพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทางการค้า (TRIPS) และข้อตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ฯลฯ
ที่ผ่านมากรมศุลกากรได้ดำเนินการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์โดยเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ และเพื่อเป็นการรองรับ (ร่าง) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร คือ การกำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ต่อพนักงานศุลกากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กรมศุลกากรกำหนด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะมีการละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น กรมศุลกากรจึงได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ การสร้างช่องทางให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ สามารถยื่นคำขอแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ ที่พนักงานศุลกากรจะใช้ในการพิสูจน์ว่าสินค้าที่นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านประเทศ เป็นสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานของกรมศุลกากรเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการนำเข้า – ส่งออกที่สุจริตสามารถผ่านพิธีการศุลกากรได้อย่างรวดเร็ว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS