ALL แตกไลน์ จับ Shopping Mall ปักหมุดชลฯรุกEEC

บอร์ดALLไฟเขียวลงทุน Shopping Mall ชลบุรี รุกคืบสู่ EEC คาดเพิ่มรายได้อีก 200 ล้านต่อปี หนุนภาพรวมธุรกิจโตยาว

นายธนากร ธนวริทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ALL เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติจัดตั้งบริษัทย่อย ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อเข้าลงทุนในสิทธิการเช่าช่วงอาคารศูนย์การค้า เดอะ นิว ฟอรั่ม พลาซ่า พร้อมก่อสร้าง ดัดแปลง อาคารศูนย์การค้า จังหวัดชลบุรี มีอายุสัญญาเช่า 29 ปี มูลค่ารวมประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เงินทุนหมุนเวียนบริษัทและเงินกู้จากสถาบันการเงิน เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการสร้างอัตราการเติบโตทางธุรกิจให้ครบวงจรในระยะยาว แล้วยังเป็นการกระจายรายได้ ลดความเสี่ยงการพึ่งพิงรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังจะเป็นฐานการสร้างรายได้ที่แน่นอนให้กับบริษัทมีความมั่นคงและยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเม็ดเงินจากการลงทุนในครั้งนี้มาจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทส่วนหนึ่ง และจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ดังนั้นผู้ถือหุ้นจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการเพิ่มทุนแต่อย่างใด

โดยบริษัทคาดว่าจะจะมีรายได้จากธุรกิจ Shopping Mall หลังจากเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในครึ่งปีหลัง 2563 ประมาณเดือนละกว่า 10 ล้านบาท และหลังจากเปิดบริการเต็มปีในปี 2564 จะส่งผลให้มีรายได้เฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งมาจากรายได้ค่าเช่า 90% และอื่นๆ อีก 10% ซึ่งคาดหวังจะเป็น Top of Mind ของลูกค้าในพื้นที่ใจกลางเมืองชลบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง รวมไปถึงเขตระเบียงเศรษฐกิจ EEC และ

ทั้งนี้ศูนย์การค้า เดอะ นิว ฟอรั่ม พลาซ่า จะมีทั้ง ศูนย์การค้า ค้าปลีก บนพื้นที่ 11-3-74 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ Gross Building Area รวม 34,952 ตารางเมตร และพื้นที่ให้เช่า (Gross Leasable Area) 11,593 ตารางเมตร จะเริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2562 คาดว่าเปิดแกรนด์โอเพนนิ่งอย่างยิ่งใหญ่ได้ในครึ่งปีหลังของปีหน้า

ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดเป็นจุดไฮไลท์ของเมืองชลบุรี เพราะอยู่ใจกลางเมืองชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ในอนาคตจะมีทั้ง โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบินสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินอู่ตะเภา และสนามบินดอนเมือง รวมทั้งการพัฒนาโครงการรถไฟรางคู่จากแหล่งอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ที่เชื่อมสู่ท่าเรือแหลมฉบัง มาบตาพุด และสัตหีบ สำหรับการขนส่งสินค้าระบบรางที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ โดยรถไฟรางคู่เข้าเชื่อมโยง และมีระบบบริการการขนส่งสินค้าแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) และการขยายถนนทางหลวง และมอเตอร์เวย์ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจในอนาคตมากขึ้น


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment