ชวนเซ้ง “ไฮสปีดเทรน” เชื่อม 3 แอร์พอร์ต 30 พ.ค. 61 ออกประกาศ เอกชนคึกคัก จับตารายใหญ่

ในที่สุด รัฐบาลไทยพร้อมที่จะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมวงประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ระบุว่า รัฐจะออกประกาศดังกล่าวในวันที่ 30 พ.ค. 61 เพื่อเชิญชวนนักลงทุนที่มีศักยภาพ ทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมการประกวดราคา และมีเป้าหมายจะดำเนินการคัดเลือกผู้ลงทุนให้ได้ภายในปี 61

ทั้งนี้ โครงการการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภาเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา ประกอบด้วย

1. รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กิโลเมตร

2. รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กิโลเมตร

3 .รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร

4. แผนพัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการผู้โดยสาร ได้แก่ สถานีมักกะสันประมาณ 150 ไร่ สำหรับการเป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูง สถานีศรีราชาประมาณ 100 ไร่ สำหรับการเป็นสถานีสนับสนุนบริการรถไฟและโรงซ่อมหัวรถจักรของ รฟท.

การจัดการดังกล่าวจะอยู่ภายใต้กรอบการร่วมลงทุนจะดำเนินโครงการภายใต้ประกาศคณะกรรมการนโยบายเรื่องการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน (PPP EEC Track)

ส่วนเป้าหมายของโครงการ นอกจากเป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมสำหรับประชาชนแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งเพื่อรองรับการพัฒนาและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัดด้วย

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศหลายราย และมีการวางแผนความร่วมมือกันเพื่อจัดบริษัทที่จะเข้ามาร่วมประมูลโครงการกันแล้ว สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด คือ ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากพื้นที่ที่อยู่ในแนวก่อสร้างโครงการมากกว่า

ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า มีความพยายามล๊อบบี้เพื่อจะยกโครงการให้แก่เอกชนไทยรายใหญ่ที่จะความร่วมมือกับบริษัทจากประเทศจีน และเตรียมจะเข้าร่วมการประกวดด้วย

โดยบริษัทเอกชนที่ประกาศตัวจะร่วมลงทุนและสนใจเข้าประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแล้ว อาทิ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด มหาชน (BTS) ร่วมมือ บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ราชบุรีโฮลดิ้ง หรือกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR และบริษัท ปตท. จำกัด นอกจากนี้ กลุ่มซีพี ที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับนักลงทุนจากประเทศจีนก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment