{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เอเซีย พลัส ประเมินภาพรวมการลงทุนในช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 ตลาดเผชิญความเสี่ยงรอบด้านทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ กลยุทธ์การลงทุนจำเป็นต้อง Selective Buy เพื่อค้นหาหุ้นที่เป็นเป้าหมายของ Fund Flow ในประเทศ ส่วนแนวรับสำคัญของดัชนี ประเมินไว้ที่ 1,510 จุด
คุณเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 3 ปี 64 ยังเผชิญความเสี่ยงจากต่างประเทศ และความเสี่ยงจากในประเทศ โดยความเสี่ยงสำคัญจากต่างประเทศ คือ การเดินหน้าส่งสัญญาณลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม เพราะหาก Fed เริ่มส่งสัญญาณปรับลดวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตร (QE Tapering) ตลาดคาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลาย ส.ค.64 หากเกิดขึ้น จะสร้างแรงกดดันต่อตลาด และผลักให้ Fund Flow ไหลออกได้ในบางจังหวะ”
สำหรับความเสี่ยงในประเทศยังคงเป็นการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ สายพันธุ์ Delta ที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว กดดันรัฐบาลกลับมาดำเนินมาตรการควบคุมโรคอีกครั้งระยะเวลา 1 เดือน (ปลาย มิ.ย – ปลาย ก.ค.64) เช่น ปิดสถานที่เสี่ยง (ร้านอาหาร, สถานบันเทิง) เป็นประเด็นที่ต้องติดตามว่าจะยืดเยื้อยาวนานเพียงใด คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ไทย งวด 2-3Q64 ชะลอตัวลงในและมีโอกาสติดลบทั้ง %qoq และ %yoy ก่อนที่จะไปฟื้นงวด 4Q64 แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า GDP ทั้งปี 64 คงคาดที่ 1.7% น่าจะไม่ชะลอไปมากเท่าปี 63 เนื่องจากในปีนี้ภาคส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน เห็นได้จากธปท. คาดทั้งปี 64 จะขยายตัวที่ 17% รวมถึงการเร่งกระจายวัคซีนของรัฐบาลในช่วง 3Q64 น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
ซึ่งในมุมกำไรของบริษัทจดทะเบียน น่าจะผ่านจุดสูงสุด (Peak) มาแล้วในงวด 1Q64 โดยช่วง 9 เดือนที่เหลือของปี คาดว่าบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรสุทธิรวม 5.45 แสนล้านบาท เติบโต 11.7% ซึ่งน้อยกว่าไตรมาสแรกที่เติบโต 135% นอกจากนี้ มาตรการควบคุม COVID-19 ที่ปัจจุบันดำเนินมาเป็นเวลาถึง 3 เดือนครึ่ง จาก 9 เดือนที่เหลือของปี ทั้งมาตรการแบ่งโซนสี และมาตรการคุมเข้ม 10 จังหวัด น่าจะกดดัน EPS ของตลาด ที่ปัจจุบัน Consensus คาดไว้ที่ระดับ 83 บาท/หุ้น ให้มีโอกาสการปรับประมาณการลง หากความเสี่ยงต่างๆ ยืดเยื้อนานขึ้น ส่วน ASPS ประเมิน EPS ไว้ที่ 71.2 บาท/หุ้น นับว่าค่อนข้างต่ำกว่าตลาดพอสมควร
ขณะที่ Fund Flow จากต่างชาติคาดหวังได้ยากขึ้น จากสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน บวกกับความกังวลเรื่อง QE Tapering เพิ่มขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงสำคัญที่จะเข้ามาปกคลุมตลาดหุ้นอยู่เป็นระยะ อีกทั้ง ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า กดดันให้ต่างชาติมีโอกาสเผชิญการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign exchange loss: FX loss) จากการลงทุน ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยต้องหวังพึ่งเม็ดเงินลงทุนจากในประเทศเป็นหลัก เห็นได้จากเม็ดเงินใหม่จากการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงเดือน ม.ค. - พ.ค.64 มียอดเปิดบัญชีสูงถึง 1.03 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 231% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวปิดท้าย “กลยุทธ์การลงทุนในช่วง 3Q64 ท่ามกลางความเสี่ยงจากรอบด้าน ประเมินแนวรับสำคัญไว้ที่บริเวณ 1,510 จุด กลยุทธ์แนะนำ Selective Buy หลบความผันผวนไปหาหุ้นพื้นฐานดีที่มีแรงหนุนเฉพาะตัว และเป็นเป้าหมายของ Fund Flow ในประเทศ อย่าง BLA, BDMS, TFG, MCS, GPSC, BJC และ CENTEL
คุณภาดร สุขสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การลงทุนและผลิตภัณฑ์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวเสริมว่า คงต้องจับตามองของสถานการณ์ COVID-19 ต่อไป โดยเฉพาะประเทศที่มีการฉีดวัคซีนเกิน 50% ในต่างประเทศ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันลดลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นสัญญาณที่ดีที่เชื่อมโยงถึงการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนั้นตัวเลขสำคัญอย่าง GDP, อัตราการ ว่างงาน และดัชนี PMI ก็บ่งชี้ถึงภาพการฟื้นตัวได้ชัดเจน
“ธีมจัดพอร์ตการลงทุน 3Q64 ยังคงแนะนำให้กระจายการลงทุนไปยังประเทศที่เห็นสัญญาณชัดเจน อย่างสหรัฐฯ และจีน เพื่อสร้างทางเลือกการลงทุนในกลุ่มประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็ว และกระจายความเสี่ยงบางส่วนออกจากหุ้นไทย ที่ยังคงเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในระยะข้างหน้านี้” คุณภาดร กล่าว
หัวหน้าฝ่ายลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ บล.เอเซีย พลัส กล่าวเสริมว่า ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และจีน ที่หุ้นเติบโตดีของฝั่งสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่กลางเดือน ก.พ. 64 ที่ผ่านมา เนื่องมาจากความกังวลเรื่องอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เร่งตัวขึ้นสะท้อนเศรษฐกิจฟื้นตัวจากการกระจายวัคซีนและการเปิดเมือง แต่เริ่มเห็นการเปลี่ยนกลุ่มจากหุ้นคุณค่าไปยังหุ้นเติบโตดี ตั้งแต่เดือน พ.ค.64 โดยดัชนี Nasdaq ที่ประกอบด้วยหุ้นเทคโนโลยี ปรับตัวฟื้นขึ้น 6% ตั้งแต่เดือนต้นเดือน มิ.ย. ขณะที่ดัชนี Dow Jones ที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหุ้นคุณค่า ทรงตัวในแดนลบราว 1% เพราะตลาดคลายความกังวลเรื่องการเร่งตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร เงินเฟ้อ และนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ
“การฟื้นตัวของราคาหุ้นกลุ่มเติบโตดีกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะบริษัทที่เติบโตกับเมกาเทรนด์ และฟื้นตัวไปกับเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 อย่างโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ Google, Facebook, Twitter, Pinterest เห็นได้จากค่าใช้จ่ายโฆษณาออนไลน์ ปี 63 อยู่ที่ 378.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 62 แต่เริ่มฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ส่วนแพลตฟอร์มครบวงจรของจีน WeChat, Taobao, Lazada และ Meituan Dianping ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล และการเข้ามาทุ่มเม็ดเงินทำการตลาดในแพลตฟอร์มเหล่านี้ของบริษัทระดับโลก อย่าง Coca-Cola, Nestle, P&G, Estee Lauder เป็นต้น ทำให้เห็นการฟื้นตัวของโฆษณาออนไลน์และการเติบโตที่ดีในระยะยาว ดังนั้น Tencent และ Alibaba จึงเป็นหุ้นกลุ่มเทคจากฝั่งจีนที่น่าสนใจ” หัวหน้าฝ่ายลงทุนหลักทรัพย์ต่างประเทศ เอเซีย พลัส กล่าวปิดท้าย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS