{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยกลุ่มธุรกิจจีน ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center: EIC) เผยแพร่รายงานส่องทิศทางการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยหลังโควิด-19 โดยทำการสำรวจนักธุรกิจจีนตัวจริง พบว่า นักธุรกิจจีนมองไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งจากมุมมองของนักธุรกิจจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้ว และที่ยังไม่เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะนักธุรกิจในกลุ่มเอสเอ็มอีที่ปรับกลยุทธ์ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อขยายตลาดท้องถิ่น เชื่อมั่นประเทศไทยเป็นตลาดศักยภาพและอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่พร้อมเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงตลาดสู่กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนให้กับจีนในอนาคต
นายมาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจจีน ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทำการสำรวจทิศทางการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยภายหลังโควิด-19 โดยจัดทำแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทจีนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้งที่อยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนและในประเทศไทยจำนวน 170 ราย ถึงแผนการลงทุนขยายธุรกิจในประเทศไทย พบว่า นักลงทุนจีนมากกว่า 2 ใน 3 มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนมายังประเทศไทยภายในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า ที่น่าสนใจคือราว 60% เป็นกลุ่มที่ไม่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจในประเทศไทยมาก่อน ประเมินประเทศไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ อีกทั้งมีความพร้อมและอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางแห่งอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งแตกต่างจากมุมมองในอดีตที่มองว่าประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถาม 66% ได้วางแผนที่จะเพิ่มการลงทุนในประเทศไทย
การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าโครงสร้างการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยมีทิศทางเปลี่ยนไป จากที่มุ่งเน้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง เช่น อุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ มาสู่การลงทุนขนาดเล็กลง จากผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 57% สนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยใช้เม็ดเงินลงทุนมูลค่าต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อโครงการในระยะ 1-2 ปีจากนี้ ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างและขนาดของการลงทุนในอดีตที่เป็นการลงทุนที่มักจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะบริษัทจีนในกลุ่มเอสเอ็มอีต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้า อีกทั้งต่อยอดห่วงโซ่อุปทานของสายการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหลัก (Supply Chain Integration) ซึ่งจะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลงเพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาสและทิศทางการเติบโต โดยภาคธุรกิจบริการและเทคโนโลยี เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของนักธุรกิจจีนที่มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้การเข้ามาของนักลงทุนจีนก่อให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ที่สร้างคุณค่าต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในอีกทางหนึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเผชิญกับคู่แข่งที่มีความได้เปรียบทั้งด้านต้นทุนที่ต่ำกว่า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมถึงประสบการณ์จากตลาดที่มีการแข่งขันสูงในประเทศจีน
ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเตรียมพร้อมธุรกิจเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น โดยยกระดับกระบวนการผลิตสินค้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนแนวทางการร่วมเป็นคู่ค้ากับนักลงทุนจีนเพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีความได้เปรียบในเรื่องความเข้าใจตลาดผู้บริโภคไทย กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ในประเทศไทย รวมถึงความสามารถจัดหาวัตถุดิบ โดยทักษะทางด้านภาษาจีน ความเข้ารู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมจีนจะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการและแรงงานไทยสามารถคว้าโอกาสจากการเข้ามาของนักลงทุนได้อย่างเต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น
ส่วน ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) กล่าวว่า แม้วิกฤต COVID-19 จะทำให้การลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศของโลก รวมถึงไทยชะลอตัวลง แต่เชื่อว่า หลังจากสถานการณ์คลี่คลายลงประเทศไทยจะยังคงเป็นจุดหมายของการลงทุนที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งนักลงทุนชาวจีน ซึ่งมียอดรวมของมูลค่าการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มากเป็นอันดับที่ 2 ในช่วงปี 2017-2019 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิตจากจีนอันเป็นผลจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ และจากกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพิงแหล่งผลิตจากจีนเพียงแหล่งเดียว หรือที่เรียกว่า China plus one รวมถึงปัจจัยสนับสนุนพื้นฐานของประเทศไทย ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ตั้งของประเทศที่อยู่ในศูนย์กลางของ ASEAN โครงสร้างพื้นฐานที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนทั้งด้านมาตรการภาษีและมาตรการอำนวยความสะดวกต่างๆ และการผลักดันการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลไทย เช่น การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาค (Regional Comprehensive Partnership Agreement: RCEP) ที่เกิดขึ้นล่าสุดโดยมีเป้าหมายในการลดกำแพงภาษีทางการค้าและเปิดตลาดผู้บริโภคระหว่างประเทศสมาชิก RCEP กว่า 2.3 พันล้านคน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้ประเทศไทยจะสามารถดึงดูดบริษัทจีนเข้ามาลงทุนได้มากขึ้นในอนาคต
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS