{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
อุปสงค์การใช้งานปูนซีเมนต์ปี 2025 มีโอกาสเติบโตจากโครงการก่อสร้างภาครัฐ ขณะที่ราคาปูนซีเมนต์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามแนวโน้มราคาพลังงานโลก ปริมาณการใช้งานปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ 29.4 ล้านตัน (+2.7%YOY) จากความต้องการใช้งานในโครงการก่อสร้างภาครัฐที่ขยายตัว ทั้งโครงการที่ก่อสร้างต่อเนื่องจากปี 2024 และโครงการที่กำลังจะเริ่มการก่อสร้างในปี 2025 รวมถึงโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ของภาคเอกชน ขณะที่ปริมาณการส่งออกปูนซีเมนต์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง จากภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา ที่ยังอ่อนแอ และยังคงมีอุปทานปูนซีเมนต์ส่วนเกินในกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก อย่างไรก็ดี การผลิตปูนซีเมนต์ในปี 2025 จะสามารถขยายตัวสอดคล้องกับอุปสงค์การใช้งานในประเทศที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีปริมาณการผลิต 31.7 ล้านตัน (+2.2%YOY) ขณะที่ราคาปูนซีเมนต์เฉลี่ยปี 2025 มีแนวโน้มปรับตัวลดลง -2.9 %YOY แตะระดับ 1,900 บาท/ตัน เป็นผลมาจากแนวโน้มราคาพลังงานโลกที่ลดลง ได้แก่ ราคาถ่านหิน และราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของการผลิตปูนซีเมนต์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ไทย
อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ถูกกำหนดให้ต้องมีการลดการปล่อย CO2 จากกระบวนการผลิต ตามเป้าหมายการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ส่งผลให้ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยมีการพัฒนาปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ที่สามารถลดกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากการเผาไหม้ปูนเม็ดที่ก่อให้เกิดการปล่อย CO2 นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือก รวมถึงการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการใช้เตาเผาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสในการขยายฐานลูกค้า ทั้งภาครัฐที่มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green public procurement) โดยได้กำหนดคุณสมบัติสินค้าวัสดุก่อสร้าง 3 ประเภท ในระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับโครงการก่อสร้างของภาครัฐ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ฉนวนกันความร้อน และเหล็ก ที่จะต้องได้รับมาตรฐานรับรองด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการลดการปล่อย CO2 ตามแรงกดดันของกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น และเทรนด์ของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
วรรณโกมล สุภาชาติ
นักวิเคราะห์
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS