{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ทำให้ขาดรายได้และมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขและบรรเทาลงก่อนที่จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังงได้เสนอเรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up ของธนาคารออมสินและรับทราบโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยปี 2567 ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 11 (โครงการ PGS 11) เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 มีมติเห็นชอบแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. จัดสรรวงเงินจำนวน 50,000 ล้านบาท ภายใต้โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) GSB Boost Up เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดยธนาคารออมสินสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่ได้ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน และภายใต้วงเงินดังกล่าวธนาคารออมสินสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ที่ได้ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยโดยตรงภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกัน ทั้งนี้ สามารถยื่นขอสินเชื่อได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567
2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยปี 2567 ภายใต้โครงการ PGS 11 ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยให้ได้รับสินเชื่อได้อย่างเพียงพอและช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อ โดย บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการนี้เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกินร้อยละ 40 จากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 30 โดยรัฐบาลจะจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันแทนผู้ประกอบการใน 3 ปีแรก หลังจากนั้น บสย. คิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากผู้ประกอบการร้อยละ 1.25 ต่อปี ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี รับคำขอค้ำประกันถึงวันที่ 30 เมษายน 2568
กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะสามารถให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยให้สามารถฟื้นฟูกิจการเพื่อกลับมาประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ภายหลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายลง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที เพื่อไม่เกิดผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS