{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
31 สิงหาคม 2535 อินเดียยอมรับให้ “ภาษากอนกานี” (Konkani) เป็นภาษาประจำชาติ
ภาษากอนกานี เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นในบริเวณเขตกอนกาน (Konkan) รัฐกัว (Goa) ซึ่งเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวและเป็นรัฐที่เล็กที่สุดของอินเดีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของประเทศและติดกับทะเลอาหรับ ผู้ที่ใช้ภาษากอนกานีส่วนใหญ่เป็นชาวกอนกานี แต่หลังจากโปรตุเกสเข้ามาปกครองรัฐกัว ทำให้ชาวกอนกานีบางส่วนอพยพไปอยู่ที่อื่น บางส่วนก็หันมานับถือศาสนาคริสต์ ทำให้ภาษากอนกานีแตกเป็นหลายสำเนียงมากขึ้น
ต่อมาในปี 2227 โปรตุเกสสั่งห้ามใช้ภาษาท้องถิ่นในเขตปกครองของตน และให้เปลี่ยนมาใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการแทน ทำให้ภาษากอนกานีเริ่มหายไปจากรัฐกัว ส่วนชาวกอนกานีที่นับถือศาสนาฮินดูก็นิยมใช้ภาษามราฐีมากกว่า
หลังจากอินเดียได้รับเอกราช รัฐกัวเลือกที่จะไม่รวมเป็นรัฐเดียวกับรัฐมหาราษฏระ ในขณะนั้นมีภาษาที่ใช้ในรัฐกัวมากมาย เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษามราฐี แต่ภาษากอนกานีกลับไม่ได้รับการใส่ใจเท่าไร
ชาวกอนกานีบางฝ่ายเชื่อว่าภาษากอนกานีเป็นเพียงสำเนียงของภาษามราฐี ไม่ใช่ภาษาเอกเทศ จนกระทั่งเมื่อปี 2518 ประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์แห่งชาติได้จัดการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับข้อโต้แย้งนี้ และได้บทสรุปว่าภาษากอนกานีเป็นภาษาเอกเทศ
รัฐกัวจึงยอมรับให้ภาษากอนกานีเป็นภาษาราชการของรัฐ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2530 และได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดียเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2535
ปัจจุบัน อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก คือ 1,356 ล้านคน (รองจากจีน 1,415 ล้านคน) ในจำนวนประชากรอินเดียพันกว่าล้านคนมีชนชาติทั้งหมด 716 เผ่าใน 30 รัฐ มีภาษาพูดมากถึง 780 ภาษา มากเป็นอันดับสองของโลก(รองจากปาปัวนิวกินีที่มีภาษาพูด 839 ภาษา) มีภาษาเขียน 86 ภาษา และมีภาษาราชการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจำนวน 22 ภาษา
นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นประเทศที่มีผู้พูดภาษาอังกฤษมากเป็นอันดับ 2 ของโลก คือ 125 ล้านคน (รองจากสหรัฐอเมริกา 268 ล้านคน)
ขอขอบคุณข้อมูล
https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษากงกณี
https://www.k-international.com/blog/countries-with-the-most-english-speakers/
https://en.wikipedia.org/wiki/Languages_of_India#cite_note-9
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS