ซีพีเอฟ ร่วมมือกรมประมงเดินหน้าปราบปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่มากกว่า 1.3 ล้านกิโลกรัมในช่วงกว่า 1 เดือน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)​ หรือ ซีพีเอฟสนับสนุนกรมประมงปราบปลาหมอคางดำอย่างจำนวนปลาหมอคางดำผ่านการดำเนิน 5 โครงการเชิงรุกมามากกว่า 1 เดือนแล้ว มีส่วนช่วยขับเคลื่อนกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำไปแล้วมากกว่า 1,300,000 กิโลกรัม และยังไม่หยุดระดมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง

นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิจและเอกชนสัมพันธ์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)​ หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลามากกว่า 1 เดือนที่บริษัทได้สนับสนุนกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงาน 5 โครงการเชิงรุก ร่วมจัดการปัญหาปลาหมอคางดำอย่างจริงจัง มีความคืบหน้าทั้ง 5 โครงการ โดยเฉพาะการพยายามลดจำนวนปลาในแหล่งน้ำอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ โครงการรับซื้อปลาหมอคางดำเพื่อทำปลาป่น ร่วมมือกับโรงงานศิริแสงอารำพี จังหวัดสมุทรสาครรับซื้อปลาหมอคางดำจากชาวประมงและแพปลา 18 แห่งทั้งในสมุทรสาคร และจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งจนถึงวันนี้โรงงานปลาป่นรับซื้อปลาสำหรับทำปลาป่นไปแล้ว 1,300,000 กิโลกรัม และยังเปิดรับซื้ออย่างต่อเนื่องตามเป้าหมาย​ที่ 2 ล้านกิโลกรัม

“ตลอดระยะเวลามากกว่า 1 เดือนที่ซีพีเอฟได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนสนับสนุนกรมประมงขับเคลื่อนการกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำอย่างเข้มข้นใน 15 จังหวัด ได้มีส่วนช่วยให้ปลาหมอคางดำถูกจับออกจากแหล่งน้ำมากกว่า 1.3 ล้านกิโลกรัมแล้ว ส่งผลให้แหล่งน้ำหลายพื้นที่มีปริมาณปลาหมอคางดำเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด และยังเดินหน้าระดมความร่วมมือหยุดยั้งการแพร่พันธุ์ปลาชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง”​ นายอดิศร์กล่าว

โครงการที่ 2 ซีพีเอฟสนับสนุนการปล่อยปลานักล่าลงสู่แหล่งน้ำเพื่อช่วยกำจัดลูกปลาหมอคางดำ ตามแผนงานของกรมประมง หลังจากแหล่งน้ำนั้นมีการกำจัดปลาหมอคางดำตัวใหญ่ออกไป โดยซีพีเอฟได้ร่วมส่งมอบปลากะพงขาวขนาด 4-5 นิ้วขึ้นไป จำนวน 70,000 ตัวเพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร จันทบุรี และระยอง ทั้งนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญของกรมประมงในการวางแผนปล่อยปลานักล่าในแหล่งน้ำจนครบ 200,000 ตัว เพื่อให้ปลานักล่าช่วยกินปลาหมอคางดำขนาดเล็กซึ่งต้องใช้เวลา 2-3 เดือนจะสามารถประเมินผลได้

ประมงสมุทรสงครามได้นำปลากะพงขาวที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟมอบให้กลุ่มเกษตรกรในเครือข่าย 4,000 ตัวทำหน้าที่ช่วยกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร โดยมีเงื่อนไขให้เกษตรกรนำปลากะพงขาวมาคืนให้ประมงจังหวัด 10% ของจำนวนที่ได้รับเพื่อขยายผลช่วยเกษตรกรรายอื่นต่อไป

โครงการที่ 3 สนับสนุนกรมประมงจัดกิจกรรมจับปลาออกจากแหล่งน้ำ เป็นกิจกรรมที่ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ทั้งภาครัฐ อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด กรมราชทัณฑ์ กองทัพบก ช่วยกันจับปลาคางดำออกแหล่งน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ร่วมจัดกิจกรรมจับปลาในจังหวัดที่พบปลาของประมงจังหวัด โดยสนับสนุนเครื่องมือจับสัตว์น้ำ อาหารและน้ำดื่มสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม จนถึงวันนี้ สนับสนุนการจัดกิจกรรมรวม 32 ครั้ง สามารถจับปลาตัวใหญ่ๆ ออกจากแหล่งน้ำได้มากกว่า 25,000 กิโลกรัม และบริษัทยังเดินหน้าสนับสนุนการจัดกิจกรรมจับปลาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและมหาวิทยาลัยชั้นนำในการกำจัดปลาหมอคางดำในระยะยาว ดำเนินโครงการพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาเมนูอาหารส่งเสริมการบริโภค และโครงการพัฒนาแนวทางหรือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่พันธุ์ปลาหมอคางดำ ล่าสุด ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเตรียมนำเทคโนโลยี eDNA สำรวจจำนวนประชากรของปลาเพื่อนำไปสู่การควบคุมการแพร่ระบาดของปลาต่างถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment