{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมทางหลวงชนบท สร้างสะพานข้ามลำน้ำมูล เชื่อม บุรีรัมย์ – สุรินทร์ เติมต่อโครงข่ายการคมนาคม 2 จังหวัด ยกระดับการเดินทางอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการขยายตัวการขนส่งผลิตภัณฑ์ชุมชน - สินค้าเกษตรให้กับประชาชน
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า กรมทางหลวงชนบท (ทช.) มุ่งพัฒนา ทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมของประชาชน โดยเฉพาะการคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ จึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโครงข่ายการคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 จังหวัด ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเดินทางได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้ความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย พร้อมสนับสนุนการขยายตัวของการขนส่งผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้าทางการเกษตรของประชาชน
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโครงการก่อสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ กับตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ โดยดำเนินการก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟัลต์ติกคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจรไป – กลับ กว้าง 9 เมตร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สะพานแห่งที่ 1 สะพานข้ามกุดครุน้อย บริเวณ กม.ที่ 1+784 ถึง กม.ที่ 1+864 ความยาว 80 เมตร โดยให้ชื่อว่า “สะพานโนนค้อ – โนนสำราญ” ตามชื่อของหมู่บ้านในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ที่มีพื้นที่ติดกับสะพาน และสะพานที่ 2 สะพานข้ามลำน้ำมูล บริเวณ กม.ที่ 5+757 ถึง กม.ที่ 5 +917 ความยาว 160 เมตร ให้ชื่อว่า “สะพานสานสัมพันธ์ สะแก – ศรีณรงค์” ตามชื่อตำบลจาก 2 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับสะพานเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังได้ดำเนินการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมสะพานผิวจราจรแอสฟัลต์ติกคอนกรีต กว้าง 6 เมตร ความยาวรวม 6,508.80 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 125.1 ล้านบาท
ปัจจุบัน ทช. ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเปิดให้ประชาชนใช้ในการสัญจรได้เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ร่นระยะทางกว่า 13 กิโลเมตร และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางข้ามจังหวัดของประชาชน พร้อมส่งเสริม และสนับสนุนการขยายตัวของการขนส่งผลิตภัณฑ์ชุมชน อย่างปลาน้ำจืดจากแม่น้ำมูล และสินค้าทางเกษตร โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ปลอดสารเคมี ซึ่งเป็นของดี และของขึ้นชื่อประจำพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS