โอกาสการลงทุนในปีที่มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยง

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักลงทุนในการประเมินกลยุทธ์การลงทุนของตนเองใหม่ โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เหตุผลหลักสามประการที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกถึงปัจจัยบวก ประการแรกคืออัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ประการที่สองสืบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่จะลดลง ธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยประมาณกลางปี สุดท้ายนี้คือความเป็นไปได้ที่จะไม่มีภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง อาทิ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ ข้อกังวลอีกประการหนึ่งคือธนาคารกลางอาจยังคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงเอาไว้ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจไทยคาดว่าน่าจะเติบโตร้อยละ 2.8 ในปีนี้ โดยมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการท่องเที่ยว รัฐบาลตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 40 ล้านคน และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ได้ 3.5 ล้านล้านบาทภายในปี 2567 แม้จะมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูง และความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงจากต่างประเทศซึ่งนักลงทุนจะต้องจับตาดูอย่างระมัดระวัง

นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยได้แบ่งปันกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้นักลงทุนรับมือกับปีที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนอีกครั้ง “ปี 2567 เป็นปีที่มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยง สิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนคือต้องคำนึงถึงวงจรของตลาด เหตุการณ์การเมืองและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ยูโอบีแนะนำให้กระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นและมองหารายได้ที่มั่นคงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย” เขากล่าว

หลักการลงทุนโดยคำนึงถึงความเสี่ยงของธนาคารยูโอบี (Risk-First Approach) เน้นการลงทุนพื้นฐานเป็นรากฐานสำหรับการวางแผนความมั่งคั่ง (Core Allocation) กลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องความมั่งคั่งของนักลงทุนด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีความผันผวนต่ำ และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการทางการเงินในระยะยาว ก่อนที่จะเพิ่มพูนความมั่งคั่งผ่าน Tactical Allocation ลงทุนโดยดูภาวะตลาดเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาดที่เกิดขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-asset) และตราสารหนี้ระดับลงทุน (Investment grade) เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Core Allocation เพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ช่วยลดความเสี่ยง และมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลเป็นประจำทุกเดือน การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายช่วยให้นักลงทุนมั่นใจถึงผลตอบแทนที่สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาโดยมีความผันผวนน้อยที่สุด เราแนะนำการลงทุน (tactical call) ในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลายาวขึ้น (duration plays) ซึ่งเป็นโอกาสและมีแนวโน้มที่จะทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางดอกเบี้ย

ตราสารหนี้ระดับลงทุนมีแนวโน้มว่าจะมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในปีนี้จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอตัว และคาดว่าธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยูโอบีคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในกลางปี 2567 นอกจากได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่น่าสนใจในปัจจุบัน ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (capital gain) จากการลงทุนในตราสารหนี้ได้ นักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นถึงระยะกลางในช่วงต้นปี ก่อนที่จะเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเมื่อตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ลง

สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ การลงทุนใน Tactical Allocation ตามอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กลุ่มสุขภาพทั่วโลกและภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น และอาเซียน, หุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลก (Global Healthcare) ที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจต่ำ และโอกาสในการเติบโต บวกกับแรงหนุนจากการเติบโตของรายได้จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ในระยะยาว ผลประกอบการทางเศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะโดดเด่นกว่าของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ด้วยการจ่ายเงินปันผลและการประเมินมูลค่าหุ้นในอัตราที่น่าดึงดูด

ฟีเจอร์ Wealth ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวใน UOB TMRW จะช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถจัดการความมั่งคั่งผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว และตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป นักลงทุนจะสามารถเข้าถึงกองทุนต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้สามารถลงทุนโดยตรงในกองทุนรวมที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจากบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงถึง 14 แห่ง อาทิ Blackrock, PIMCO, JPMorgan และ Fidelity


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment