{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
บมจ.เคมีแมน หรือ CMAN เปิดแผนธุรกิจระยะยาว ตั้งเป้ารักษาส่วนแบ่งการตลาด ลุยขยายกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมที่เติบโตโดดเด่น เจาะลึกกลุ่มลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน พร้อมอยู่ระหว่างเจรจาพันธมิตร 1-2 ราย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
หม่อมหลวงจันทรจุฑา จันทรทัต ประธานกรรมการ บริษัท เคมีแมน จำกัด (มหาชน) หรือ CMAN ผู้ผลิตปูนไลม์ครบวงจรระดับท็อปเทนของโลก ภายใต้แบรนด์ 'CHEMEMAN' เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางแผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาว โดยกำหนดกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ดังนี้ (1) รักษาส่วนแบ่งตลาดของกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และประเทศเป้าหมาย และขยายฐานกลุ่มลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตตามเศรษฐกิจ เช่น อาหารสัตว์ การผลิตขวด แก้ว เป็นต้น และกลุ่มที่เติบโตสูงกว่าเศรษฐกิจ เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ลิเทียมและนิกเกิล คอนกรีตมวลเบา พลาสติกชีวภาพ อีกทั้งเน้นขยายฐานลูกค้าใหม่ในประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อินเดีย ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่สภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง เคมีแมนคาดว่ายอดขายปูนไลม์จะเติบโตช้า จึงวางแผนเพิ่มสัดส่วนการขายหินปูนเคมี เพื่อเพิ่มโอกาสทำรายได้และกำไรให้สูงขึ้น
(2) เคมีแมนกำลังเจรจาร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำ 1-2 ราย เพื่อขยายกำลังการผลิตไปยังประเทศเป้าหมาย พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อรองรับการขยายธุรกิจ (Business Footprint) และเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว
และ (3) มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพสูงและรักษามาตรฐานบริการระดับสูง พร้อมการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็วทันเวลา มีการปรับปรุงความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการบริหารต้นทุนการผลิตและการบริการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเพิ่มอัตรากำไรสุทธิให้สูงขึ้น และใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น พลังงานไฟฟ้าบนหลังคา (rooftop solar power) รถบรรทุกไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
"ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯ อยู่ในอุตสาหกรรมหนักและเป็นบริษัทระดับโลก จึงมีการวางแผนธุรกิจล่วงหน้า ทำให้ CMAN สามารถวางแผนการผลิตและส่งออกให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้สม่ำเสมอและทันท่วงที และในสถานการณ์ที่สภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพการดำเนินงาน ปรับพอร์ตลูกค้าที่มีคุณภาพและแนวโน้มเติบโตให้เหมาะสม และจากการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวเป็นจำนวนกว่า 500 ล้านบาทในปี 2566 ส่งผลให้สถานะทางการเงินของบริษัทแข็งแกร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย ณ สิ้นปี ประมาณการอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นจะอยู่ที่ 1.6 เท่า นอกจากนั้น การดำเนินงานของบริษัทย่อยที่ประเทศออสเตรเลียและเวียดนาม ยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง” หม่อมหลวงจันทรจุฑา กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 CMAN สร้างผลงานได้ตามเป้า ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายพิเศษสำหรับประเด็นข้อพิพาทด้านการขนส่ง 2 ครั้ง จำนวน 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการยุติภาระค่าใช้จ่ายประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS