{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กฟผ. เฝ้าระวังระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล โดยชะลอการระบายน้ำตามมติคณะกรรมการลุ่มน้ำชี ในขณะที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริหารจัดการตามแผนฉุกเฉินเมื่อระดับน้ำเข้าสู่ภาวะวิกฤตเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ย้ำเตือนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
นายจรัญ คำเงิน รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทยตอนบนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล ซึ่ง กฟผ. โดยเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้ร่วมช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยชะลอการระบายน้ำ ตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและคณะกรรมการลุ่มน้ำชี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 7 ตุลาคม 2566 มีการระบายน้ำเพียงวันละ 0.8 ล้าน ลบ.ม.
วันที่ 8 – 15 ตุลาคม 2566 ปรับเพิ่มการระบายน้ำเป็นขั้นบันไดวันละ 3 - 15 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำระบายทั้งสิ้นในช่วงเวลาดังกล่าว 104 ล้าน ลบ.ม. ขณะเดียวกัน เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมากถึง 1,981 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำที่เขื่อนอุบลรัตน์ได้กักเก็บไว้ไม่ให้ไหลลงไปสมทบกับพื้นที่ตอนล่าง 1,877 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 95 ของมวลน้ำทั้งหมด ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนเกินความจุเก็บกักปกติคิดเป็น 112% ของความจุ โดยมีปริมาณน้ำ 2,730 ล้าน ลบ.ม.
จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ระหว่างวันที่ 18 - 20 ตุลาคม 2566 จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น กฟผ. ได้เตรียมแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเมื่อเข้าสู่ภาวะวิกฤตและสถานการณ์ฉุกฉินอย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนเรื่องมั่นคงปลอดภัยเขื่อนและคันดิน ลดผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS