{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ศก.ไทยครึ่งหลังแนวโน้มดีกว่าครึ่งปีแรก ลุ้นทั้งปีโต2.8% เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีกว่าในครึ่งปีแรก
รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปี 62 น่าจะขยายตัวกลับมาเป็นบวกได้มากกว่าครึ่งปีแรก โดยไตรมาส3ตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตได้ 2.9% เป็นแนวโน้มที่เป็นบวก หลังจากที่ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ2.8 ในไตรมาสแรกและขยายตัวร้อยละ2.3 ในไตรมาส 2
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายโดยเฉพาะจากผลกระทบเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดีหากเศรษฐกิจไตรมาสสี่ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องจากไตรมาส3 ก็ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2.8
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน 2562 และไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการชะลอตัวจากการส่งออกสินค้า โดยมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ในด้านการผลิตพบว่า เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน และภาคการเกษตรที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี
โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนส่วนใหญ่ชะลอตัวขณะที่บางส่วนยังขยายตัวได้สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -3.7 ต่อปี ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งชะลอตัวที่ร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวที่ร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 3 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 59.3 เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับจีน และเรื่อง Brexit ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.8ส่วนรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ทำให้ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงชะลอตัว ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น การลงทุนหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวที่ร้อยละ -21.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -11.3 ต่อปี ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวที่ร้อยละ -2.3 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังคงชะลอตัวที่ร้อยละ -10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ไตรมาสที่ 3 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ชะลอตัวที่ร้อยละ -9.2 ต่อปี ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวที่ร้อยละ -2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวในดัชนีราคาสินค้าหมวดเหล็กตามราคาเหล็กในตลาดโลกและความต้องการใช้เหล็กที่ลดลง ทำให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวลงที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี
ด้านเศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้า
ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ชะลอตัวที่ร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการชะลอตัวของสินค้าส่งออกในหมวดสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อย่างไรก็ตามสินค้าในกลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทองคำ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับอื่น ๆ ยังคงขยายตัวได้ และตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2562 เกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคจะพบว่า หลายประเทศ มีการส่งออกหดตัว โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ อินเดีย และฮ่องกง มีการหดตัวในระดับสูง
ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวอีกว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวและภาคการเกษตรขยายตัว ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณชะลอตัว ในภาคการท่องเที่ยวสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกันยายน 2562 มีจำนวน 2.90 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 31.6 ต่อปี และยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นที่ขยายตัวดี อาทิ นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย ลาว และญี่ปุ่น ทำให้ไตรมาสที่ 3 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.2 ต่อปี สำหรับรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 139,621 ล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไตรมาสที่ 3 รายได้จากนักท่องเที่ยวขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี เช่นเดียวกับภาคการเกษตรสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีดังกล่าวชะลอตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน
การแข็งค่าของเงินบาทอาจเป็นปัจจัยลบต่อภาคการส่งออก ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ค่าดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 92.8 โดยเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.9 ไปอยู่ที่ระดับ 103.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนหลังจะดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่
ร้อยละ 0.3 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลงในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ณ ไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 และ 0.4 ต่อปีตามลำดับ สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงาน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 41.3 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับสูงที่ 220.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS