รัฐตั้งเป้าขาดดุลงบสู่สมดุลไม่เกิน3%ของจีดีพี ยึดหลัก 3S

ครม.เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567 – 2570) ตั้งเป้าเร่งลดขนาดการขาดดุลสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลให้เหลือไม่เกินร้อยละ 3.0 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เริ่มปีงบ67 ยึดหลัก “Sound Strong Sustained”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี

ในคราวประชุมวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2567 - 2570) (แผนการคลังระยะปานกลางฯ) เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของรัฐ รวมทั้งแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีและแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ตามความที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงิน

การคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ) ที่กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ

มีหน้าที่จัดทำแผนการคลังระยะปานกลางให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ

ทั้งนี้ แผนการคลังระยะปานกลางฯ ได้กำหนดเป้าหมายการคลังเป็นการมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลเพื่อมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยปรับลดขนาดการขาดดุลให้เหลือไม่เกินร้อยละ 3.0 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 และจะปรับลดขนาดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่องในระยะปานกลาง โดยการดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลางจะยึดหลัก “Sound Strong Sustained” ดังนี้

Sound การดำเนินนโยบายการคลังที่สมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเป็นไปตามหลักการดำเนินนโยบายการคลังแบบต่อต้านวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือ Counter-cyclical Fiscal policy โดยในภาวะที่เศรษฐกิจสามารถเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ดังเช่นในปัจจุบัน รัฐบาลก็จะลดบทบาทของ

การดำเนินมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ลง โดยมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายการคลังแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted Fiscal Policy) ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อกลับมาเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลัง

Strong มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการคลังในทุก ๆ ด้าน ทั้งในส่วนของการฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่

ทางการคลังหรือ Fiscal Space ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อรองรับการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล

โดยคำนึงถึงกรอบวินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) ด้วยการรักษาระดับเครื่องชี้ทางการคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับ

ที่เหมาะสมด้วย

Sustained มุ่งสู่ภาคการคลังที่ยั่งยืนและมีศักยภาพในการรองรับความเสี่ยงที่ประเทศอาจต้องเผชิญอีกในอนาคตได้ และเข้าสู่การคลังสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ในระยะยาวหากภาวะเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาว

จะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment