{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
อุตสาหกรรมจัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการแปรรูป สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community: OPOAI-C) สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรได้เฉลี่ย ร้อยละ 52 และส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาทต่อปี ก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มไม่ต่ำกว่า 61 ล้านบาท สร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 2,900 ราย
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community: OPOAI-C) ในงานสัมมนา เผยว่า แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแปร รูปการเกษตรในภูมิภาค ผ่านโครงการโอปอย-ซี (OPOAI-C) ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มชุมชนการเกษตร/สหกรณ์การเกษตร โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชุมชน ภายใต้แนวความคิดและกรอบการทำงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการผสานการดำเนินธุรกิจเข้าไว้ด้วยกันกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี
รวมถึงความร่วมมือจากผู้มีความรู้ความชำนาญในสายงานต่าง ๆ ให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและเอื้อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการทุกระดับ เป็นการเพิ่มศักยภาพ พร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
โดยทีมที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ดำเนินการศึกษาตาม กระบวนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดต่างๆ ของการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อนำเสนอเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินการโครงการฯ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ตามเจตนารมณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม
ด้านนางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผลการดำเนินโครงการ OPOAI-C ในภาพรวม โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด 76 จังหวัด ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 2,516 ราย จากเป้าหมาย 2,280 ราย ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 304 ผลิตภัณฑ์ จากเป้าหมาย 304 ผลิตภัณฑ์
ขณะเดียวกันในส่วนของผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ผ่านการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่น จำนวน 11 กลุ่ม โดยผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจอย่างมาก ซึ่งตลอดโครงการฯ สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรได้เฉลี่ย ร้อยละ 52 และคาดการณ์ว่าโครงการนี้ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มไม่ต่ำกว่า 61 ล้านบาท และสร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ไม่น้อยกว่า2,900 ราย ซึ่งบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดให้เกษตรกรที่ได้รับการพัฒนา มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 6 ต่อปี คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท/ปี
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS