{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) จับมือพันธมิตร 4 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จัดสัมมนาออนไลน์ “ttb investment outlook 2022 : ผ่าทุกมิติการลงทุน...รู้ก่อนชัวร์กว่า” แนะความรู้สำหรับนักลงทุน
นางกิดาการ ชัฏสุวรรณ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์กองทุนรวม ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดเผยว่า ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) จับมือพันธมิตร 4 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ได้แก่ บลจ.กรุงไทย บลจ.วรรณ บลจ.ทหารไทยอีสท์สปริง และ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จัดสัมมนาออนไลน์ “ttb investment outlook 2022 : ผ่าทุกมิติการลงทุน...รู้ก่อนชัวร์กว่า” แนะความรู้สำหรับนักลงทุน เปิดมุมมอง รวมถึงวิเคราะห์ทิศทางตลาด เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน นำไปสู่การมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งในวันนี้และอนาคต
โดยทีทีบีมองภาพการลงทุนในปี 2565 สินทรัพย์เสี่ยงยังครองตลาด นักลงทุนจึงไม่ควรพลาดโอกาสในการลงทุน แม้จะมีความท้าทายที่ต้องเผชิญจากภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและสภาพคล่องในตลาดที่เริ่มจะลดน้อยลง หลังจากที่ธนาคารกลางในประเทศหลักกลับมาดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนในปีนี้ ทีมกลยุทธ์การลงทุนของทีเอ็มบีธนชาตยังคงให้น้ำหนักกับการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล”
สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงได้ไปต่อในปี 2565 มีดังนี้ 1. จุดจบของสถานการณ์โควิด-19 ที่ใกล้เข้ามา นำพาไปสู่การกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2. สินทรัพย์เสี่ยงยังไปต่อได้ แม้นโยบายการเงินจะเข้มงวด แต่เนื่องจากสภาพคล่องในระบบไม่ได้หมดไปในทันที และธุรกิจมีเวลาในการปรับตัวล่วงหน้า ตลาดหุ้นโลกจึงยังมีแรงส่งให้ปรับตัวขึ้นต่อไปได้ 3. แรงกระตุ้นจากนโยบายการคลังยังไม่หมดไป โดยเฉพาะในประเทศฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market: DM) ที่มีศักยภาพในการออกมาตรการกระตุ้นทางการคลังมากกว่าฝั่งตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market: EM) ทำให้เศรษฐกิจโลกในปีนี้ยังมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ แม้ว่าอาจจะไม่เท่ากับปี 2564 โดยในภาพรวม ทีมกลยุทธ์การลงทุนของทีเอ็มบีธนชาตให้น้ำหนักกับการลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market: DM) มากกว่าตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market: EM)
นางกิดาการ กล่าวอีกว่า สินทรัพย์เสี่ยงที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ “หุ้น” โดยเฉพาะตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในปีนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจของทั้งสามประเทศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว จึงแนะนำให้ลงทุนในตลาดหุ้น DM อย่างต่อเนื่องผ่านกองทุน ttb smart port เป็น Core Portfolio และเสริมด้วยกองทุน TMB-ES-GCORE ที่เน้นการลงทุนในตลาดหุ้นกลุ่ม DM เพื่อเป็นการลงทุนระยะยาวและจะช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีผลตอบแทนที่เติบโตไปอย่างมั่นคง
ทั้งนี้ แม้ตลาดหุ้น DM จะมีความผันผวนค่อนข้างมากในช่วงนี้ จากท่าทีที่เข้มงวดของธนาคารกลาง แต่หัวใจสำคัญในการสร้างกำไรภายใต้ความผันผวน คือ การเลือกลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมให้ถูกจังหวะ (Sector Rotation) ซึ่งมองว่ากลุ่มวัฏจักร (Cyclical) ยังมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นกลุ่มเติบโต (Growth) ในช่วงครึ่งปีแรก ดังนั้น จึงแนะนำกองทุน KT-ENERGY และ KT-FINANCE มาเป็น Top Pick เพื่อตอบโจทย์การลงทุนภายใต้ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างเพิ่มเติมด้วย กองทุน TMB-ES-CHILL ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มหุ้นวัฏจักรที่จะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ภาวะสิ้นสุดของสถานการณ์โควิด-19 ต่อไป ส่วนหุ้นกลุ่ม Growth โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีนั้น มีโอกาสฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ต้องเป็นหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่เช่น กลุ่ม FAANGMT (หุ้นของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกันที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพสูงสุด 7 แห่ง ประกอบด้วย Facebook, Amazon, Apple, Netflix, Alphabet (บริษัทแม่ของ Google), Microsoft และ Tesla จึงคาดว่ากองทุน TMBUSBLUECHIP อาจจะเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่จะแนะนำช่วงครึ่งปีหลัง หรือ กองทุนที่ตอบสนองต่อธีมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Metaverse
ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) ในช่วงไตรมาสแรกมองว่ายังไม่มีความน่าสนใจ โดยหุ้นจีนยังมีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะชะลอลงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวด รวมถึงมีแนวโน้มที่จะถูกกดดันจากกฎระเบียบของทางการอยู่ในโมเมนตัมการลงทุนช่วงต้นปีนี้ จึงยังชี้ไปที่การลงทุนในหุ้นอินเดีย ที่ยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังจะมีความน่าสนใจมากขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มผ่อนคลายลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามพัฒนาการของตลาดหุ้นจีน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ สำหรับตลาดหุ้นอาเซียน เป็นอีกหนึ่งตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจ จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม แม้จะไม่อยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ แต่ก็ถือเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีศักยภาพ สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้น ยังไม่โดดเด่น ในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากยังถูกกดดันจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิ ครอน ประกอบกับระดับราคาหุ้นไม่อยู่ในระดับที่ถูก แต่หากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง หุ้นไทยโดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเศรษฐกิจจะมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น แต่ควรเป็นลักษณะของการเลือกลงทุนในหุ้นรายตัว ควรเลือกลงทุนในกองทุนที่มีจุดเด่นที่การเลือกหุ้น และสามารถลงทุนได้ทั้งในหุ้นขนาดใหญ่ และหุ้นขนาดกลาง-เล็ก
ด้านตลาดพันธบัตรที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่าง “พันธบัตรรัฐบาล” เริ่มมีความน่าสนใจน้อยลง โดยเฉพาะพันธบัตรที่มีอายุยาวซึ่งจะได้รับผลกระทบทางลบมากจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขาขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนคือ ต้องลดอายุของตราสารโดยเฉลี่ยในพอร์ตการลงทุนลง และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยการลงทุนในตราสารประเภท Additional Tier 1 (AT1) และ High Yield Bond (HY) สำหรับตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ยังไม่คุ้มเสี่ยงในปีนี้ เนื่องจากปัจจัยโดยรวมก็ยังไม่สนับสนุนการลงทุน ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย โดยรวมแล้วไม่น่าสนใจมากนัก การลงทุนต้องอาศัยจังหวะเข้าลงทุนในพันธบัตรระยะกลางถึงยาวมากกว่า เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ สินทรัพย์ทางเลือกซึ่งเรามองว่าคือ พระเอกตัวจริงหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย คือ น้ำมันดิบ เนื่องจากการหันมาใช้พลังงานทางเลือกแทนน้ำมันดิบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้ในปีนี้น้ำมันดิบจะยังเป็นที่ต้องการจากทั้งผู้บริโภคและธุรกิจต่าง ๆ ต่อไป จึงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อราคาน้ำมันดิบในปีนี้ ส่วนทองคำนั้น ความน่าสนใจในฐานะสินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจะลดลงไป จึงไม่แนะนำให้ลงทุนทองคำในปีนี้ ขณะที่การลงทุนใน REITs มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ในช่วงต้นปีการลงทุนในสินทรัพย์กลุ่ม REITs ของประเทศไทยและสิงคโปร์ จะยังเผชิญแรงกดดันจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ยังรุนแรง และเงินเฟ้อทั่วโลก แต่ในช่วงครึ่งปีหลังการลงทุนอาจมีความน่าสนใจมากขึ้น หากราคาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS