{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
จังหวัดเพชรบูรณ์พร้อมขับเคลื่อนโครงการเพชรบูรณ์พอเพียง ระยะที่ 2 มีเป้าหมายให้คนในจังหวัดมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยหลักคิด กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนดี ชีวีพร้อม น้อมพัฒนา
นายสุเมธ ธีรนิติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ได้จัดลงนามความร่วมมือในโครงการ “เพชรบูรณ์พอเพียง ระยะที่ 2” และโครงการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร พืชเศรษฐกิจ พืชสวยงาม และสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีไทย ภายใต้โครงการเพชรบูรณ์พอเพียง ระยะที่ 2
โดยการขับเคลื่อนโครงการเพชรบูรณ์พอเพียง ระยะที่ 2 มีหน่วยงานและองค์กรเข้าร่วม จำนวน 54 หน่วยงาน 136 โครงการ โดยกำหนดรหัสการขับเคลื่อน คือ 54136 กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดดำเนินการปี 2565 มุ่งเป้าหมายไปที่ครัวเรือนยากจนที่ตกเกณฑ์ตามข้อมูล TPMAP จำนวน 886 ครัวเรือน, ครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต, ครัวเรือนตกเกณฑ์ด้านรายได้ จากข้อมูล จปฐ., กลุ่ม/องค์กร และเครือข่ายในจังหวัดเพชรบูรณ์ และประชาชนในจังหวัดเพชบูรณ์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ด้วยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้ความมั่นคง 5 ด้าน ซึ่งจะได้ลงนามความร่วมมือในวันนี้ จำนวน 2 คณะ ได้แก่
คณะที่ 1 การลงนามความร่วมมือระหว่างจังหวัด กับ หัวหน้าส่วนราชการที่เข้าร่วมขับเคลื่อนโครงการภายใต้ 5 ร่มความมั่นคง จำนวน 54 หน่วยงาน
คณะที่ 2 การลงนามความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ และภาคเอกชน ตามโครงการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร พืชเศรษฐกิจ พืชสวยงาม และสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย ภายใต้โครงการเพชรบูรณ์พอเพียง ระยะที่ 2
“จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ทำโครงการเพชรบูรณ์ โดยมีเป้าหมายให้วิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนคนเพชรบูรณ์ ต้องได้รับการดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความสมบูรณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปัจจัย 4 ประการ ภายใต้ความมั่นคง 5 ด้าน ประกอบด้วย ความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงด้านรายได้ ความมั่นคงด้านสุขภาพ และความมั่นคงด้านสังคม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเป้าหมายให้คนเพชรบูรณ์ กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนดี ชีวีพร้อม น้อมพัฒนา ซึ่งเฟสแรกถือว่าประสบความสำเร็จ จึงได้เดินหน้าต่อระยะที่ 2” รองผู้ว่าราชการ จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าว
นายสุเมธ กล่าวว่า ในส่วนของโครงการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร พืชเศรษฐกิจ พืชสวยงาม และสัตว์เศรษฐกิจ ด้วยเกษตรอินทรีย์วิถีไทย จังหวัดเพชรบูรณ์ โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ กับ การยาสูบแห่งประเทศไทย กับ มูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ กับ บริษัท เฮิร์บ เทรเชอร์ จำกัด กับ บริษัทอะแกรนิค เวิร์ลด์ จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU - Memorandum of Understanding) ฉบับนี้ จัดทำขึ้นภายใต้โครงการเพชรบูรณ์พอเพียง ระยะที่ 2 โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ มีการประสานความร่วมมือกับมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ ที่มีภารกิจในด้านการสร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรูปและการตลาด ตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยเชื่อมโยงการตลาดกับบริษัท Herb Treasure Co. ที่เป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับการผลิต รับซื้อ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชง
ซึ่งบริษัท Herb Treasure Co. ได้มาจัดตั้งโรงงานสกัดสารสำคัญจากกัญชงในพื้นที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกระบวนการผลิต และสถานที่สำหรับรับซื้อผลผลิตจากกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้รับการส่งเสริมตามโครงการภายใต้ “นโยบายกัญชงเพื่อเศรษฐกิจ” จึงได้ร่วมมือตกลง Contact Framing และจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมโครงการดังกล่าว
โดยมีแนวคิดและแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีการผลิตพืชเศรษฐกิจ (กัญชง) และสร้างช่องทางการตลาด ภายใต้ความร่วมมือของภาคี ดำเนินการ 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายด้านการผลิต มีหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในกระบวนการผลิต โดยมูลนิธิรักษ์ดิน รักษ์น้ำ เป็นองค์กรสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านการผลิตตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย 2) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างมาตรฐานผลผลิต การแปรรูป และการตลาดตามมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย โดยเชื่อมโยงการตลาดกับบริษัท Herb Treasure Co. ที่เป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับการผลิต รับซื้อ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชง ด้วยการร่วมมือตกลง Contact Framing กับกลุ่มเป้าหมาย 3) สนับสนุนปัจจัยการผลิต การแปรรูปและส่งเสริมช่องทางการตลาด เพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิต และการแปรรูป โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายตามข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP)
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS