{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายวศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ.กสิกรไทย ในฐานะผู้นำในธุรกิจจัดการลงทุนของไทยที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ได้เข้าร่วมลงนาม UN-supported Principles for Responsible Investment (PRI) รับหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ (PRI Signatory) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลักการลงทุนอันเป็นที่ยอมรับและใช้อย่างแพร่หลายในระดับสากล ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ อีกทั้งยังเป็นการดำเนินธุรกิจที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ของธนาคารกสิกรไทยที่ดำเนินงานตามหลักการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน โดยเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่เข้าร่วมใน “หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย มุ่งหวังที่จะได้ร่วมมือกันทำงานร่วมกับผู้ลงนามอื่นๆ ในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการลงทุนที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนต่อไป” นายวศินกล่าว
บลจ.กสิกรไทย ได้จัดทำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีการปรับใช้ในกระบวนการลงทุน ตั้งแต่การวิเคราะห์ การคัดเลือก และประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ รวมถึงการสร้างพอร์ตโฟลิโอการลงทุนในทุกประเภทสินทรัพย์ โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา บลจ.กสิกรไทย มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและปรับปรุงแนวทางปฏิบัติตามหลักการการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ PRI เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ก่อตั้งในปี 2006 ที่นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้หลักปฏิบัติเรื่องหลักการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ โดยมีการผนวกประเด็นเรื่อง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าด้วยกัน และนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจลงทุนตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น (Active Ownership) ความร่วมมือของทั้งสามฝ่ายจากทั้ง UN Global Compact UNEP Finance Initiatives และผู้เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน จะช่วยเสริมสร้างความมั่งคง ความยั่งยืนในระยะยาวให้กับตลาดทุน สังคมและเศรษฐกิจของโลก ปัจจุบันมีสถาบันที่เข้าร่วมลงนามกว่า 4,500 รายทั่วโลก ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมกว่า 121 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งผู้ที่ร่วมลงนามตกลงที่จะปฏิบัติตามหลักการลงทุนที่รับผิดชอบ ทั้ง 6 ประการ ดังต่อไปนี้
หลักปฏิบัติที่ 1: พึงนำประเด็นด้าน ESG มาประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน
หลักปฏิบัติที่ 2: พึงใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นอย่างจริงจัง และนำประเด็นด้าน ESG เป็นส่วนหนึ่งของการ กำหนดนโยบาย และหลักปฏิบัติการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น
หลักปฏิบัติที่ 3: พึงสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ที่เข้าไปลงทุน เปิดเผยข้อมูลด้าน ESG
หลักปฏิบัติที่ 4: พึงส่งเสริมประเด็นด้าน ESG ให้เกิดการยอมรับและการปฏิบัติในอุตสาหกรรมการลงทุน
หลักปฏิบัติที่ 5: พึงให้ความร่วมมือในการนำหลักปฏิบัติการลงทุนที่รับผิดชอบมาใช้ปฏิบัติ
หลักปฏิบัติที่ 6: พึงรายงานข้อมูลข่าวสารความคืบหน้าในการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติการลงทุนที่รับผิดชอบ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS