บสย. ทุบสถิติค้ำสินเชื่อย้ำปี 2564 แตะ 2.4 แสนล้านอุ้ม SMEs มากกว่า 207,000 ราย

บสย. สร้างนิวไฮ ผลดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ ปี 2564 เติบโตทุกมิติ ยอดพุ่ง 240,000 ล้านบาท ช่วย SMEs มากกว่า 207,000 ราย

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.คาดว่าผลการดำเนินงานในปี 2564 จะมีการเติบโตในทุกมิติ จะปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อมากกว่า 240,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่สร้างสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย.

ซึ่งโดยผลการดำเนินงาน บสย. ณ 13 ธ.ค. 2564 มียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 234,992 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs 207,537 ราย และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ (LG) 224,104 ฉบับ โดยมีโครงการที่โดดเด่น 3 โครงการได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 124,912 ล้านบาท 2.โครงการ PGS-9 วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 78,799 ล้านบาท และ 3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro 4 วงเงิน 19,257 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู และโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ดังนี้คือ

1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ตาม พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 1-2 คิดเป็นสัดส่วน 53.2%

- ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 124,912 ล้านบาท อนุมัติ LG 39,380 ฉบับ

- จำนวนลูกค้า 36,776 ราย

- เกิดสินเชื่อจากการค้ำประกัน 127,310 ล้านบาท

- วงเงินค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 3.17 ล้านบาทต่อฉบับ

- เกิดการจ้างงานรวม 1,206,367 ราย

- เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวม 515,885 ล้านบาท

- ธุรกิจที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดภายใต้โครงการ 3 ลำดับ ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 28% 2.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 10% 3. ธุรกิจยานยนต์ 9%

2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. คิดเป็นสัดส่วน 46.8% ประกอบด้วยโครงการ PGS-9 โครงการไมโคร4 และโครงการอื่นๆ

- ยอดอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อกว่า 110,080 ล้านบาท อนุมัติ LG 184,724 ฉบับ

จำนวนลูกค้า 176,525 ราย

- วงเงินค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 0.60 ล้านบาทต่อฉบับ

- เกิดสินเชื่อจากการค้ำประกัน 122,038 ล้านบาท

- เกิดการจ้างงานรวม 1,320,732 ราย

- เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 454,634 ล้านบาท

- ธุรกิจที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 29% 2.ธุรกิจการผลิตสินค้าและ

การค้าอื่นๆ 16% 3. เกษตรกรรม 10%

นางวสุกานต์ กล่าวว่า สถานการณ์ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2563-2564 เป็นต้นมา ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก โดย บสย. ได้ทำพันธกิจสำคัญในการช่วยผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มบทบาทการเป็นเพื่อนคู่คิดให้ธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาด้านเงินทุน สภาพคล่อง โดยใช้ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย.F.A. Center ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ SMEs ฟรี บริการลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาทางการเงิน ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างหนี้ พัฒนาธุรกิจ และเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่างๆ และ บสย. ยังได้ร่วมให้คำปรึกษาในโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ขอใช้บริการลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาทางการเงิน ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างหนี้ พัฒนาธุรกิจ และเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่างๆ รวมกว่า 7,238 ราย โดยยังได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้คำปรึกษาทางการเงินในโครงการจับคู่กู้เงิน ความร่วมมือในโครงการส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงิน ในพื้นที่ EEC เพื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจผ่านการค้ำประกันสินเชื่อให้กับ ผู้ประกอบการ SMEs รายย่อย กลุ่มนำเข้า-ส่งออก และ กลุ่ม S-curve


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment